พื้นฐานของระบบสารสนเทศ(Fundamentals of Information Systems)
แนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศพื้นฐาน (Fundamental Information System Concept)
จากแนวคิดเรื่องระบบ (System Concept) มาเป็นรากฐานของระบบสารสนเทศ ที่แสดงให้เห็นถึงการนำระบบไปใช้ในองค์กรธุรกิจ รวมทั้งส่วนประกอบและกิจกรรมของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจแนวคิดอื่นๆ ของเทคโนโลยี โปรแกรมประยุกต์ การพัฒนา และการจัดการระบบสารสนเทศ
การวิเคราะห์ American Management System
กรณีศึกษาของ American Management System จะช่วยให้ในการเรียนรู้เรื่องประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้ระบบสารสนเทศในธุรกิจ
ศูนย์ความรู้ของ AMS (The AMS knowledge Center) เป็นตัวอย่างของระบบสารสนเทศแบบใหม่ เป็นระบบการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management System : KMS) ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหลากหลาย เพื่อช่วยให้พนักงานขององค์กรที่มีความรู้ช่วยกันจัดโครงสร้างและแบ่งปันความรู้ทางธุรกิจในรูปของอินทราเน็ตเว็บไซท์ ในหัวข้อ ‘ การปฏิบัติงานที่ดี (Best Practices)’ ได้รับการพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ทางธุรกิจของพนักงานและเก็บบันทึกไว้ในรูปแบบสื่อประสมเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink Multimedia) บนเว็บไซท์ โดยพนักงานอื่นสามารถเรียกใช้งานได้จากเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)
ศูนย์ความรู้ของ AMS เป็นหนึ่งในหลายๆรูปแบบของระบบสารสนเทศ ซึ่งมีส่วนประกอบพื้นฐานดังนี้
•ทรัพยากรบุคคล ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และเครือข่าย
•สิ่งที่สนับสนุน ข้อมูลเข้า การประมวลผล ข้อมูลออก จัดเก็บและกิจกรรมควบคุม (Control Activities)
•ผลิตภัณฑ์สารสนเทศ (Information Products) ที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้ (End User)
แนวคิดเรื่องระบบ (System Concept)
ระบบเป็นกลุ่มข้อมูลส่วนย่อย (Elements) ที่เกี่ยวพันกันหรือทำงานร่วมกันเพื่อประกอบให้เป็นหนึ่งเดียว
ระบบ (System) คือ กลุ่มของส่วนประกอบที่มีความเกี่ยวพันระหว่างกัน มีการทำงานร่วมกันเพื่อเป้าหมายเดียวกัน โดยการรับข้อมูลเข้าและผลิตข้อมูลออกจากการประมวลผล บางครั้งเรียกว่า ระบบพลวัต (Dynamic System) ประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐาน 3 อย่างคือ
•การนำเข้า/ข้อมูลนำเข้า (Input) เกี่ยวข้องกับการจับและรวบรวมข้อมูลส่วนย่อยที่ถูกป้อนเข้าสู่ระบบเพื่อใช้ในการประมวลผล ตัวอย่างเช่น วัตถุดิบ พลังงาน ข้อมูล ความพยายามของมนุษย์ที่ต้องการความปลอดภัย และการรวบรวมเพื่อประมวลผล เป็นต้น
•การประมวลผล (Process) เกี่ยวข้องกับการแปลงข้อมูลนำเข้าให้เป็นข้อมูลออก ตัวอย่างเช่น กระบวนการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม กระบวนการหายใจของมนุษย์ หรือ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
•การส่งออก/ข้อมูลออก/การแสดงผล/ผลลัพธ์ (Output) เกี่ยวข้องกับการโอนข้อมูลส่วนย่อยที่ถูกผลิตโดยการประมวลผลส่งไปยังปลายทาง ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การให้บริการและสารสนเทศการจัดการที่ถูกถ่ายทอดไปยังผู้ใช้
ผลป้อนกลับและการควบคุม (Feedback and Control)
แนวคิดเรื่องระบบเกิดประโยชน์มากขึ้นเมื่อเพิ่มส่วนประกอบของผลป้อนกลับและการควบคุม ระบบที่มีทั้งผลป้อนกลับและการควบคุมบางครั้งเรียกว่า ระบบไซเบอร์เนติกส์ (Cybernetic System) ซึ่งเป็นทั้งระบบเฝ้าสังเกตด้วยตนเอง (Self-monotiring System) และระบบจัดระเบียบด้วยตนเอง (Self-regulating System)
•ผลป้อนกลับ/ผลสะท้อน/ผลส่งกลับ (Feedb ack) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของระบบ เช่น ข้อมูลการปฏิบัติงานของพนักงานขายเป็นผลป้อนกลับไปยังผู้จัดการฝ่ายขาย เป็นต้น
•การควบคุม (Control) เป็นการเฝ้าสังเกตและการประเมินผลป้อนกลับว่าระบบได้ดำเนินไปใกล้เป้าหมายหรือไม่ หน้าที่การควบคุมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการปรับปรุงข้อมูลนำเข้าและกระบวนการประมวลผลเพื่อให้ได้ข้อมูลออกที่เหมาะสม เช่น ผู้จัดการฝ่ายขายได้รับสิทธิ์ควบคุมพนักงานขายใหม่ที่อยู่ในเขตการขายของตน เป็นต้น
ตัวอย่างที่รู้จักกันดีของระบบเฝ้าสังเกตและจัดระเบียบด้วยตนเอง คือ ระบบควบคุมอุณหภูมิในบ้านซึ่งทำงานอัตโนมัติเพื่อรักษาอุณหภูมิตามที่ต้องการ หรือร่างการมนุษย์ซึ่งจัดเป็นระบบไซเบอร์เนติกส์คือสามารถเฝ้าสังเกตและปรับเปลี่ยนหน้าที่ได้หลายอย่าง เช่น อุณหภูมิ การเต้นของหัวใจ การหายใจ เป็นต้น ธุรกิจเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่มีหลายกิจกรรมที่ทำหน้าที่ควบคุม เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเฝ้าสังเกตและควบคุมกระบวนการผลิตในโรงงาน กระบวนคำสั่งทางบัญชี เป็นต้น
ความแตกต่างที่เด่นชัดของระบบสารสนเทศหลักๆ
ประเภทของระบบสารสนเทศ จุดเด่น
ระบบจัดการองค์ความรู้ ความรู้ – จากพนักงานที่มีความรู้
ระบบผู้เชี่ยวชาญ ความรู้ – จากผู้เชี่ยวชาญ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ การตัดสินใจ – สนับสนุนการโต้ตอบ
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร สารสนเทศ – สำหรับผู้บริหารและอื่นๆ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สารสนเทศ – สำหรับผู้ใช้ระดับจัดการ
ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง ข้อมูล – จากการดำเนินธุรกิจ
ตัวอย่างของทรัพยากรและผลิตภัณฑ์ของระบบสารสนเทศ
กิจกรรมระบบสารสนเทศ (Information System Activities)
ในแต่ละกิจกรรมของการประมวลสารสนเทศเบื้องต้น ( หรือการประมวลผลข้อมูล) ที่เกิดขึ้นในระบบสารสนเทศ ให้นึกถึงข้อมูลเข้า การประมวลผล ข้อมูลออก การจัดเก็บ และกิจกรรมควบคุมที่เกิดขึ้นในระบบสารสนเทศที่ได้ศึกษามาแล้ว
•การนำเข้า การกวาดตรวจด้วยแสงป้ายบาร์โค้ดที่ติดบนสินค้า
•การประมวลผล การคำนวณค่าจ้าง ภาษี และรายการลดหย่อนต่างๆของพนักงาน
•การส่งออก การผลิตรายงานและแสดงผลการขาย
•การจัดเก็บ การบำรุงรักษาข้อมูลลูกค้า พนักงาน และสินค้า
•การควบคุม การทำให้เกิดสัญญาณตรวจสอบที่ชี้ให้เห็นว่าการป้อนข้อมูลขายที่เหมาะสม
ภาพรวมของระบบสารสนเทศ (Overview of Information Systems)
บทบาทการขยายตัวของระบบสารสนเทศ (Expanding Roles of Information Systems)
ประเภทของระบบสารสนเทศ (Type of Information Systems)
ระบบสารสนเทศที่ใช้งานจริงมีวิธีการจำแนกได้หลายแบบ ตัวอย่างเช่น จำแนกตามแนวคิดของระบบสารสนเทศปฏิบัติการหรือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ ประมวลผลข้อมูลที่สร้างโดยการดำเนินกิจการของธุรกิจ กลุ่มหลักๆ คือ
•ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง ประมวลผลข้อมูลที่ได้มาจากรายการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ปรับปรุงฐานข้อมูล และผลิตเอกสารทางธุรกิจ
•ระบบการควบคุมการประมวลผล ติดตามและควบคุมกระบวนการอุตสาหกรรม
•ระบบความร่วมมือองค์กร สนับสนุนคณะทำงาน กลุ่มงาน และการติดต่อสื่อสารและความร่วมมือองค์กร
ระบบสนับสนุนการจัดการ เตรียมสารสนเทศสนับสนุนความต้องการในการตัดสินใจที่มีประสิทธิผลของผู้จัดการ กลุ่มหลักๆคือ
•ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เตรียมสารสนเทศรายงานและการแสดงข้อมูลในรูปแบบที่กำหนดไว้แล้วล่วงหน้าแก่ผู้จัดการ
•ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สนับสนุนการโต้ตอบแบบตามความประสงค์ สำหรับกระบวนการตัดสินใจของผู้จัดการ
•ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร เตรียมสารสนเทศที่วิกฤตให้อยู่ในรูปแบบสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ
ระบบสารสนเทศกลุ่มอื่นๆ สนับสนุนทั้งโปรแกรมประยุกต์ปฏิบัติการ จัดการ และกลยุทธ์ กลุ่มหลักๆคือ
•ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบฐานความรู้ซึ่งเตรียมคำแนะนำแบบผู้เชี่ยวชาญและแสดงตนราวกับว่าเป็นที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญของผู้ใช้
•ระบบการจัดการองค์ความรู้ เป็นระบบฐานความรู้ซึ่งสนับสนุนการสร้างสรรค์ การจัดระเบียบ และเผยแพร่ความรู้ธุรกิจภายในองค์กร
•ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ เพื่อผลิตภัณฑ์และบริการกลยุทธ์และความได้เปรียบในเรื่องความสามารถทางการแข่งขันขององค์กร
•ระบบสารสนเทศเชิงธุรกิจ สนับสนุนโปรแกรมประยุกต์ทั้งปฏิบัติการและจัดการทางธุรกิจขององค์กร
ที่มา : http://sites.google.com/site/it514249125/thekhnoloyi-phun-than-khxng-rabb-sarsnthes
นางสาวอมรรัตน์ ระดมบุญ ชั้น บ.กจ. 3/2
ไม่มีความคืบหน้าของบล็อกเลยแก้ไขด้วยนะจ๊ะเพื่อนไปถึงไหนแล้ว
ตอบลบ