วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา : บริษัท Nokia ขยายตลาดดัวยการทำคอมพิวเตอร์แล็ปทอป

ได้มีข่าวลือของโนเกียออกมาก็คือ การเข้าสู่ธุรกิจเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเล็ปทอปหรือโน้ตบุ๊ค โดย Kallasvuo ผู้ดำรงต่ำแหน่ง CEO ของโนเกีย ข่าวดังกล่าว ได้เผยแพร่ออกมาหลังจากบริษัท Acer ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อันดับ 3 ได้มีการเปิดตัวโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น การที่โนเกียจะขยายตลาดดัวยการกระโดดจากธุรกิจหนึ่งไปสู่ธุรกิจหนึ่งนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การขยายตลาด ในยามที่ธุรกิจดั้งเดิมของตนเริ่มอิ่มตัว ก็จำเป็นต้องกระโจนเข้าสู่ธุรกิจใหม่ และยังมีคู่แข่งชั้นนำของตลาด ซึงเป็นทั้งผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รวามทั้งโทรศัพท์มือถือ ต่อไปนี้คือ 
  • Apple ที่เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าอย่างมาก
  • HP เจ้าตลาดอันดับ 1 
  • DEll เจ้าตลาดอันดับ 2
  • Acer เป็นเจ้าตลาดอันดับ 3
  • Sony ผู้ผลิตโน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ในชื่อ Vaio รวมถึงโทรศัพท์ในชื่อของ Sony Ericsson
คำถามจากกรณีศึกษา
1. ท่านคิดว่า บริษัท Nokia ตัดสินใจกระโดดข้ามมาทำธุรกิจคอมพิวเตอร์แล็ปทอป เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร จงให้เหตุผลประกอบ
  • จากความเห็นส่วนตัวคิดว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจาก ความน่าเชื่อถือของโนเกียในด้านของแล็ปทอปยังมีน้อยในด้านนี้ อีกทั้งบริษัทคู่แข่งขันนั้นมีความเชี่ยวชาญมากกว่าในสายตาของผู้บริโภค เป็นผลให้การทำการตลาดเพื่อแบ่งส่วนตลาดเป็นไปได้ยาก
2. "โนเกียควรปกป้องตลาดมือถือของตนเองต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องลงมาทำตลาดคอมพิวเตอร์ให้เสียเวลา ซึ่งยังมีช่องว่างอยู่มากมายอย่างตลาดของ Smart-Phone ที่โนเกียสามารถรุกเข้าไปทำตลาดอย่างจริงจัง" อยากทราบว่า Smart-Phone คืออะไร และท่านเห็นดัวยกับกลยุทธ์ตามดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ อย่างไร
  • Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป ทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้น เรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดียว 
  • จากข้อความผมเห็นดัวย เนื่องจากถ้าพิจารณาจากตลาดมือถือยังถือว่ากว้างมาก นอกจากนั้นโนเกียยังเป็นยี่ห้อมือถือที่ลกค้าให้ความเชื่อมั้น ควรตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้มากจะเป็นการดีที่สุด
3. บริษัท Apple ซึ่งเดิมเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ในนามของ Macintosh ที่ได้ขยายธุรกิจข้ามมายังอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือในนามของ iPhone และยังสามารถยืนหหยัดทำสำเร็จจนเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ท่านคิดว่าบริษัท Apple ได้ชูกลยุทธ์ใดในการเข้าถึงกลุมลูกค้า
  • Apple ได้ชูกลยุทธ์ด้านการออกแบบสินค้า โดยออกแบบให้เป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคนรุ่นใหม่ที่ชอบเทคโนโลยี ทั้งนี้ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดระดับบนที่มีรายได้สูง
      ที่มา : http://wattanachai-mc.blogspot.com/2011/07/nokia.html
      นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ ชั้น บ.กจ.3/2

กรณีศึกษา : ยาสีฟันเดนทิสเต้กับความสำเร็จในการใช้กลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม

ยาสีฟันเดนทิสเต้ ได้สร้างเซกเมนต์ Night Time หรือการใช้ยาสีฟันในช่วงเวลาก่อนนอน มีจุดขายในการช่วยลดแบคทีเรียในช่องปากระหว่างการหลับนอน
         เดนทิสเต้ได้พยายามผลักดันตัวเองเพื่อหลีกหนีสมรภูมิการแข่งขันในตลาดยาสีฟันระดับกลุ่มใหญ่ เพราะมีการใช้ประชาสัมพันธ์สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์อย่างไม่อั้น
         สิ่งที่เดนทิสเต้นำมาสร้างเป็นจุดขาย คือ เรื่องการระงับกลิ่นปากจากการช่วยลดแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานอนหลับ ดังนั้น จึงได้หยิบเอากลยุทธ์การเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม ด้วยการสร้างตลาดเฉพาะกลุ่มขึ้นมาซ้อนอยู่บนตลาดกลุ่มใหญ่ พร้อมกับมุ่งเป้าไปยังคู่รักที่เพิ่งแต่งงานกัน
         การที่เดนทิสเต้ได้เข้ามาทำการตลาด ทำให้พฤติกรรมการใช้ยาสีฟันของคนไทยเปลี่ยน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เดนทิสเต้ได้รับการตอบรับอย่างดี คือ การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ และนำปัญหาที่คนกังวลมากที่สุดมาเป็นจุดขาย (กลิ่นปากที่เกิดขึ้นในช่วงตื่นนอนตอนเช้า)
คำถามจากกรณีศึกษา
1. ทำไมยาสีฟันเดนทิสเต้ จึงหนีการเผชิญหน้าเพื่อแข่งขันโดยตรงกับยาสีฟันยักษ์ใหญ่
     - เพราะว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ มีการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ทีมีงบไม่อั้น จึงทำให้เดนทิสเต้ไม่อยากที่จะแข่งขันด้วย
2. เดนทิสเต้ได้นำกลยุทธ์อะไรเป็นตับขับเคลื่อน และทำไมจึงใช้กลยุทธ์ดังกล่าว
     - กลยุทธ์ที่ใช้ คือ กลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม พร้อมมุ่งเป้าไปที่คู่เพิ่งแต่งงานกัน เหตุที่ใช้เพราะว่า เดนทิสเต้ต้องการสร้างความแตกต่างจากยาสีฟันยี่ห้ออื่น รวมทั้งใช้เป็นจุดขายของเดนทิสเต้อีกด้วย
3. ปัจจัยสำคัญอะไร ที่ยาสีฟันเดนทิสเต้ สามารถเข้ามามีส่วนแบ่งตลาดได้ในระยะเวลาอันสั้น
     - มีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน เพราะโดยส่วนใหญ่ยาสีฟันทั่วไป จะดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นหลัก และช่วยระงับกลิ่นปาก แต่เดนทิสเต้ มีจุดขายในเรื่องการระงับกลิ่นปากจากการช่วลลดแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลับนอน อีกทั้งยังสามารถตอบโจทย์ที่ผู้บริโภคต้องการได้ คือ การมีลักษณะเด่นและความแตกต่าง
4. สมมติว่าท่านได้ีรับภาระหน้าที่ในการเจาะตลาดยาสีฟันยี่ห้อหนึ่ง ท่านจะใช้กลยุทธ์ใด และจะกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้ลักษณะเด่นอะไรที่คิดว่ายังพอมีศักยภาพในการทำกำไร รวมทั้งสร้างความพึงพอใจกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
     - กลยุทธ์การให้ข่าวสาร( Public Relation Strategy) เช่น การร่วมมือกับสื่อบางสื่อ เพื่อจัดเทศกาลในโอกาสพิเศษ
      - กลยุทธ์ การใช้พนักงานขาย (Personal  Strategy) เช่น คิดค้นโปรแกรมการให้ผลตอบแทนการขาย ( Incentive Program ) ใหม่ๆ เพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงานขายที่ทำยอดขายตามเป้า
     - มีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ โดยใช้เกณฑ์คุณภาพสูง ราคาสูง เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่า ยี่ห้อยาสีฟันชนิดนี้มีคุณประโยชน์และคุณค่าในสายตาผู้บริโภค
นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ ชั้น บ.กจ.3/2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

1.ทำอย่างไร ที่องค์กรธุรกิจสามารถที่จะใช่เครือข่ายระหว่างองค์กร ในการจัดเก็บเข้าถึงและแจกจ่ายข้อมูล และสารสนเทศ ไปยังหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกได้
   ตอบ สิ่งที่ขับเคลื่อนคือ อินเทอร์เน็ต เพราะสารสนเทศจำนวนมากข้ามไปบนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นสื่อประสม ความต้องการฐานข้อมูลของธุรกิจเพื่อเก็บ รับ และจัดการข้อมูลประเภทอื่นๆทั้งเอกสาร วิดิทัศน์ และเสียง
2.อะไรคือบทบาทของการจัดการฐานข้อมูล การบริหารฐานข้อมูล และการวางแผนที่จะใช้ข้อมูลมาเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ
   ตอบ การจัดการทรัพยากรข้อมูล ความพยามหลักในการจัดการทรัพยากรข้อมูลมีความจำเป็นเพื่อชดเชยปัญหาที่มีผลมาจากการใช้แนวทางการจัดการฐานข้อมูล
3.อะไรคือประโยชน์ของแนวคิดในการรวบรวมฐานข้อมูล การเข้าถึง และการจัดการทรัพยากรข้อมูล จงยกตัวอย่างประกอบ
   ตอบ เช่น การลดความซับซ้อนของข้อมูล การรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการเข้าถึงจากหลายโปรแกรมและหลายผู้ใช้
4.อะไรคือบทบาทของระบบสารสนเทศในการจัดการระบบฐานข้อมูล
   ตอบ ควบคุมวิธีการสร้างฐานข้อมูล การค้นหาร และการบำรุงรักษา เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการสำหรับผู้ใช้และองค์กร
5.ฐานข้อมูลสารสนเทศนั้นเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติการภายในองค์กร ให้พิจารณาว่ายังมีฐานข้อมูลประเภทใดอีกที่มีความสำคัญในธุรกิจปัจจุบัน
   ตอบ การใช้ฐานข้อมูลการตลาด การขาย และการบริหารเป็นต้น
6.อะไรคือข้อดีประโยชน์และอะไรคือข้อจำกัดของตัวแบบความสำพันธ์ของฐานข้อมูลที่ประยุกต์ใช้ในทางธุรกิจปัจจุบัน
   ตอบ ข้อดี คือ การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การบูรณการและความปลอดภัยของข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลเพิ่มขึ้น ข้อจำกัด คือ เกิดการซับซ้อน มีความยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายที่สูง และเวลาที่ใช้ในการประมวลผลที่ยาวขึ้น
7.จงอธิบายถึงฐานข้อมูล คลังข้อมูล และตลาดข้อมูลในความเข้าใจของนักศึกษา
   ตอบ ฐานข้อมูล เป็นการรวบรวมระเบียนในรูปแฟ้มให้เป็นระเบียนส่วนกลางเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการใช้งาน
            คลังข้อมูล คือ การเก็บข้อมูลปัจจุบันและปีก่อนๆ เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ
            ตลาดข้อมูล คือ การเก็บข้อมูลของหลายๆองค์กร เพื่อปรับปรุงการทำงานของฐานข้อมูลและเพื่อความปลอดภัย
8.ทำไมตัวแบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุ จึงได้รับการยอมรับในการนำเอามาพัฒนาและจัดการฐานข้อมูลทางธุรกิจบนเว็บ
   ตอบ ฐานข้อมูลเชิงวัตถุเป็นส่วนประกอบของซอฟต์แวร์ที่สำคัญในการจัดการหน้าสื่อประสมเชื่อมโยงหลายมิติและข้อมูลประเภทอื่นๆที่สนับสนุนเว็บไซท์ขององค์กรและสามารถจัดการเรื่องการเข้าถึงและการจัดเก็บออบเจ็กต์ เช่น เอกสาร ภาพกราฟิก วีดีทัศน์ เสียง และอื่นๆได้โดยง่าย
9.ทำอย่างไรที่จะนำเอาอินเทอร์เน็ต และ World Wide Web มาใช้ในการจัดการทรัพยากรข้อมูลเพื่อประกอบการทำธุรกิจได้
   ตอบ การเข้าถึงสารสนเทศที่มีค่าของฐานข้อมูลภายนอกจากพาณิชย์บริการต่อตรงโดยจ่ายค่าธรรมเนียม หรือจากแหล่งต่างๆบนอินเทอร์เน็ต บน World Wide Web ทั้งมีค่าใช้จ่ายหรือไม่มีค่าใช้จ่ายจากเว็บไซท์จัดเตรียมหน้าเชื่อมโยงหลายมิติของเอกสารสื่อประสมที่ไม่รู้จบเพื่อการเข้าถึงฐานข้อมูลสื่อหลายมิติ

นางสาวอมรรัตน์ ระดมบุญ ชั้น บ.กจ.3/2

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนที่ 4

การจัดการระบบฐานข้อมูล
ในการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ถึงแม้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพดีแล้วก็ตาม ยังต้องมีชุดคำสั่ง (software) ที่จะควบคุมการทำงานของเครื่องอีกด้วย บุคคลที่ได้คุ้นเคยกับการเขียนชุดคำสั่งด้วยคำสั่งด้วย คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาฟอร์แทรน อาจจะประสบปัญหาการเขียนชุดคำสั่งที่เกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งต้องการประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับเงินเดือนของพนักงาน ข้อมูลเกี่ยวกับการทำบัญชี รายรับรายจ่าย ข้อมูลของระบบสินค้าคงคลัง โดยทั่ว ๆ ไป ในการเขียนชุดคำสั่ง หรือใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อให้ ได้จุดประสงค์ตามความต้องการดังกล่าว อาจจะใช้หลักการทำงานโดยวิธีการจัดแฟ้ม ซึ่งเรียกวิธีนี้ว่า ระบบการจัดกระทำแฟ้มข้อมูล (file handing system)
ระบบการจัดกระทำแฟ้มข้อมูล 
          เราจะต้องเขียนโปรแกรมคำนวณเงินเดือน ซึ่งจะทำการดึงเอาข้อมูลเงินเดือนมาจากแฟ้มที่เก็บข้อมูล เงินเดือนมาทำการประมวลผล ส่วนโปรแกรมจัดทำบัญชี ก็จะต้องติดต่อกับแฟ้มที่เก็บข้อมูลทางบัญชี และโปรแกรมสินค้าคงคลังก็จะเกี่ยวข้องกับแฟ้มข้อมูลสินค้าคงคลัง เมื่อต้องการโปรแกรมเพื่อจุดประสงค์อะไร ก็ต้องเขียนโปรแกรมนั้นขึ้นมาเอง พร้อมกับต้องสร้างแฟ้มข้อมูลเก็บข้อมูลที่ต้องการนำมาประมวลผลอีกด้วย
เมื่อมาถึงจุดนี้ จะเห็นว่าการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพจริง ๆ อาจต้องจ้างผู้มีความรู้พิเศษทางด้านคอมพิวเตอร์มาทำงานโดยเฉพาะอย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ระบบไมโครคอมพิวเตอร์มีเครื่องทุ่นแรงที่เรียกว่า โปรแกรมสำเร็จ ซึ่งจะช่วยทำงานเฉพาะด้านที่ผู้ใช้ต้องการ โดยผู้ใช้อาจจะใช้เวลาในการเรียนรู้เพื่อใช้งานไม่นานก็สามารถที่จะใช้ทำงานที่ไม่ยุ่งยากได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมสำเร็จส่วนใหญ่จะถูกจัดเตรียมขึ้นมาเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานเฉพาะอย่าง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโปรแกรมสำเร็จซึ่งจะทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นแฟ้มที่มีระเบียบ ง่ายต่อการใช้งาน และช่วยทำให้ผู้ใช้ประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว โปรแกรมเหล่านี้จะใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (Data Base Management System : DBMS)
โปรแกรมสำเร็จที่ใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูลนี้ มีความสามารถทางด้านการจัดการแฟ้มข้อมูลมากมาย เช่น การสร้างแฟ้ม การกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลซึ่งความสัมพันธ์ข้อมูลนี้ สามารถใช้ประมวลผลข้อมูล หลาย ๆ แฟ้มรวมกันเสมือนเป็นแฟ้มใหญ่แฟ้มเดียวได้ มีวิธีการจัดระบบข้อมูลให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สามารถที่จะค้นหา ข้อมูลที่ต้องการได้สะดวกรวดเร็วและยังหาวิธีการที่จะประหยัดเนื้อที่ของหน่วยความจำซึ่งอาจจะใช้แผ่นบันทึก ข้อมูล เป็นที่เก็บข้อมูลของแฟ้มต่าง ๆ
ดังนั้นเมื่อใช้โปรแกรมสำเร็จ ดีบีเอ็มเอส เข้ามาแทนระบบการจัดแฟ้มดังในรูปจะทำให้ผู้ใช้งาน ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น การจัดระบบแฟ้มสามารถทำได้โดยผู้ใช้คำสั่งที่ ดีบีเอ็มเอส ได้เตรียมไว้แล้ว เช่น คำสั่งสร้างแฟ้มข้อมูล คำสั่งเพิ่มหรือลดข้อมูล
          ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ภายในแฟ้มจะถูกจัดสรรด้วยการควบคุมของ ดีบีเอ็มเอสแฟ้มต่าง ๆ เหล่านั้นอาจจะ ถูกสร้างพร้อมกันครั้งเดียว โดยผู้ใช้เป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาประมวลผลตามความต้องการ โดยเขียนโปรแกรมด้วยชุดคำสั่งง่าย ๆ ซึ่งระบบ ดีบีเอ็มเอส ได้เตรียมไว้แล้ว จากตัวอย่างในรูปข้อมูลเกี่ยวกับเงินเดือน บัญชีและสินค้าคงคลังได้เก็บรวบรวมไว้ภายในแผ่นบันทึกข้อมูล ซึ่งรวมอยู่ภายในแฟ้มชุดเดียวกัน แล้วเขียนโปรแกรมเพื่อคำนวณเงินเดือน จัดทำบัญชี และสินค้าคงคลัง โดยที่โปรแกรมต่าง ๆ จะติดต่อกับข้อมูลภายในแฟ้มโดยผ่านทาง ดีบีเอ็มเอส และถ้าต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อประมวลผลตามจุดประสงค์ใหม่ก็สามารถทำได้โดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มขึ้น 
ลักษณะการจัดสารสนเทศที่ดี
             สมัยก่อน ในศูนย์คอมพิวเตอร์จะเห็นภาพผู้คนนั่งเจาะบัตรคอมพิวเตอร์ให้เป็นรหัสทั้งส่วนที่เป็นข้อมูลหรือโปรแกรม การทำงานในสมัยนั้นส่วนใหญ่ใช้การประมวลผลแบบกลุ่ม โดยนำข้อมูลเก็บไว้ในเทปบันทึก แล้วนำมา ประมวลผล เพื่อทำรายงานตามความต้องการ การทำงานในลักษณะประมวลผลแบบกลุ่มก็ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะงานวิจัย
การแจ้งผลสอบผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของธนาคาร ต้องมีการค้นหาข้อมูลผลสอบ และตอบให้ทราบ ทันทีทั้งที่เป็นระบบเสียงพูดและระบบแสดงผลบนจอภาพ เป็นตัวอย่างที่แสดงว่า การทำงานกับระบบฐานข้อมูล เริ่มมีความจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลผ่านสายโทรศัพท์ที่เรียกว่า การประมวลผลแบบเชื่อมตรง การประมวลผลแบบนี้ มีการเรียกค้นหาข้อมูลและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลได้ตลอดเวลา จึงนิยมใช้กันแพร่หลายมากขึ้น
ต่อมาไมโครคอมพิวเตอร์ได้เป็นที่นิยม โดยมีขีดความสามารถทางด้านความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เพิ่มขึ้นในขณะที่ราคาลดลง และมีโปรแกรมสำเร็จเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูลที่ใช้ง่าย ๆ เกิดขึ้นหลายโปรแกรม แนวโน้มการใช้งานประมวลผลข้อมูลด้วยไมโครคอมพิวเตอร์จึงเป็นที่นิยมมากขึ้น
เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา วิธีจัดการฐานข้อมูลก็ได็รับการพัฒนา ให้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ การจัดการฐานข้อมูลจึงเป็นศาสตร์ที่มีการศึกษาเล่าเรียนกันในหลาย ๆ ระดับ การจัดการฐานข้อมูลจะยึดหลักการที่สำคัญคือ
           1.)  ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม โดยกระจายอยู่ในหลาย ๆ แฟ้ม มักจะพบปัญหา ของการปรับแก้ไขข้อมูล เพราะต้องคอยปรับปรุงข้อมูลให้ครบทุกแฟ้ม มิฉะนั้นจะพบกับปัญหาความซ้ำซ้อนของ ข้อมูล ซึ่งทำให้การบริหารข้อมูลทำได้ยากข้อมูลจึงควรได้รับการออกแบบและเก็บอยู่ในฐานข้อมูลที่ใดที่เดียว เพื่อลดความซ้ำซ้อน
ในการกำหนดรูปแบบข้อมูลจะต้องทำให้ข้อมูลทั้งฐานข้อมูลเป็นรูปเดียวกัน เช่น การกำหนดข้อมูลชื่อ ให้ใช้ชื่อแล้วเว้นช่องว่างจึงเป็นนามสกุล และมีตำแหน่งต่อท้ายแทนการขึ้นต้น เช่น พ.ท. สมชาย ดีใจ เก็บเป็น สมชาย ดีใจ พ.ท. เป็นต้น เมื่อมีการกำหนดรูปแบบข้อมูลที่ชัดเจน และถือปฏิบัติใช้ทั้งฐานข้อมูลก็จะลดปัญหา การจัดการฐานข้อมูลลงไปได้มาก ทำให้ข้อมูลเป็นกลางและใช้ร่วมกันได้ นอกจากนี้ยังมีหลายสาเหตุที่อาจ ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่งจะต้องคำนึงถึงในการออกแบบฐานข้อมูล
ข้อมูลจะต้องใช้งานได้กับผู้ใช้หลาย ๆ ประเภท หรือหลายแบบ เช่น ข้อมูลในฐานข้อมูลของจังหวัด จะต้องใช้ได้ทุกอำเภอ
ความต้องการข้อมูลของแต่ละหน่วยงานอาจมีรายละเอียดที่ต่างกัน เช่น แผนกขายต้องการชื่อที่อยู่ ของลูกค้าเพื่อติดต่อส่งเสริมการขาย แผนกติดตามหนี้ต้องการได้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติหนี้ค้างของลูกค้า การเรียกชื่อข้อมูล อาจจะเรียกแตกต่างกัน เช่น ชื่อสินค้า อาจเรียกได้หลายอย่างในชื่อสินค้าเดียวกัน
2) กำหนดมาตรฐานข้อมูล ในการสร้างฐานข้อมูลจะต้องให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นมาตรฐาน มีการกำหนดรหัสที่เป็นมาตรฐาน มีการกำหนดคำหลัก (keyword) หรือค่าที่ใช้แทนข้อมูลอย่างเดียวกันเพื่อให้ได้ความหมายต่อการใช้งานที่ดี
3) มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลจำเป็นต้องจัดแบ่งระดับความ สำคัญของข้อมูลเพื่อกำหนดผู้ใช้ มีการควบคุมข้อมูล เพื่อบ่งบอกว่าใครจะเป็นผู้แก้ไขหรือข้อมูลได้บ้าง มีการบันทึกประวัติ การแก้ไขข้อมูลเพื่อตรวจสอบ ข้อมูลที่จัดเก็บนั้นอาจมีความสำคัญ ดังนั้นการแก้ไขหรือปรับปรุงข้อมูลโดย รู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้นอาจทำให้ข้อมูลเสียหายได้
           4) มีความเป็นอิสระจากโปรแกรม ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นระบบที่ข้อมูล และฐานข้อมูลมีความ เป็นอิสระจากโปรแกรม ทำให้สามารถใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลใด ๆ จัดการฐานข้อมูลได้ การออกแบบให้ ข้อมูลเป็นอิสระนี้ทำให้ข้อมูลใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรูบแบบ
           5) รวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกลาง แต่เดิมมีการเก็บข้อมูลแยกเป็นแฟ้มกระจัดกระจาย จึงต้องเก็บข้อมูล ด้วยเทป แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นฐานข้อมูลกลาง ทำให้ระบบ การทำงานใช้ข้อมูลร่วมกันได้
            การดำเนินงานฐานข้อมูลจะต้องมีการจัดการเตรียมฐานข้อมูลและบริหารข้อมูล โดยจัดแบ่งแยก ปรับปรุงข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องหน้าที่หลักของผู้บริหารฐานข้อมูล จึงประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูล การติดต่อประสานงานกับแหล่งข้อมูลและที่มาของข้อมูล จึงประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูล การติดต่อประสานงานกับแหล่งข้อมูลและที่มาของข้อมูลตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แบ่งกลุ่ม จัดลำดับ กำหนดรหัสข้อมูล สรุปผลทำรายงาน คำนวณเก็บรักษาข้อมูลโดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและเชื่อถือได้ของ ข้อมูล การค้นหาข้อมูล การสำรวจข้อมูล และเผยแพร่แจกจ่ายข้อมูล
นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ. 3/2

ประวัติความเป็นมาของวอลมาร์ท

Wal-Mart Stores, Inc.
ประเภท
ก่อตั้งเมื่อ
สำนักงานใหญ่
บุคลากรหลัก
$288 billion USD ( $29B FY 2005)
จำนวนพนักงาน
1.7 million
Wal-Mart. Always Low Prices. Always. (U.S.)


วอลมาร์ท เป็นชื่อของร้านค้าแนวดิสเคาน์สโตร์สัญชาติอเมริกัน
ก่อตั้งสาขาแรกที่มลรัฐอาคันซอ (Arkansas) ในปี พ.ศ. 2505
โดย แซม วอลตัน (Sam Walton) เพื่อเป็นร้านขายของราคาถูก ปัจจุบันใช้สโลแกนว่า
"Save Money Live Better" แทนสโลแกนเดิม คือ
"Always Low Prices, Always" ซึ่งใช้มาก่อนหน้านี้ 19 ปี

วอลมาร์ทยังเป็น "ต้นแบบ" ของร้านค้าประเภทเดียวกันนี้ เช่น เทสโกโลตัสและคาร์ฟูร์
ในอดีตโลตัสของซีพีที่เปิดตัวในปี พ.ศ.2537 ได้นำคนจากวอลมาร์ทเข้ามาเป็นที่ปรึกษาและวางระบบให้
ในครั้งนั้นวอลมาร์ทเกือบจะเข้ามาขยายการลงทุนในไทย
แต่ก็เลือกไปที่จีนแทน เพราะเห็นโอกาสทางการตลาดที่ใหญ่กว่า

ภายหลังกลุ่มเทสโก้เข้ามาเทคโอเวอร์โลตัส และเปลี่ยนชื่อเป็น เทสโก้โลตัส
ต่อมาเมื่อมีการร่วมทุนจากต่างประเทศกับกลุ่มค้าปลีกไทยมากขึ้น จึงส่งผลให้ร้านค้าปลีกในแบบดิสเคาน์สโตร์หรือ
ไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว

แม้ว่าวอลมาร์ทจะไม่มีสาขาในประเทศไทยแต่ในฐานะที่มียอดขายรวมมากที่สุดในโลกจึงถือเป็น "เบอร์ 1"
และถือเป็น "ตำนาน"ของร้านค้าปลีกในแนวดิสเคาน์สโตร์
นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ. 3/2

คลื่นลูกที่ 1,2,3,และ 4 ต่างกันอย่างไร

คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) : คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) เป็นช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบ เศรษฐกิจด้วยการรู้จักการทำ เกษตรกรรมซึ่งการที่มนุษย์รู้จักการทำ กสิกรรม ปลูกพืชเป็นไร่ เลี้ยงสัตว์เป็นฟาร์ม สิ่งที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ของประเทศนั้นๆ จะขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่แปลงเกษตร การครอบครองพื้นที่ การทำฟาร์ม ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการปศุสัตว์และการเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของชาตินั้นๆ เติบโตแข็งแกร่ง
คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) : คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบเศรษฐกิจด้วย อุตสาหกรรมในช่วงเวลาปี 1650-1750 มนุษย์รู้จักการใช้เครื่องมือ (Machines) การทำสายการผลิต (Production line) สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันจำนวนมากๆ ได้และมีคุณภาพเหมือนกัน (Quality control) และสามารถผลิตจำหน่ายจำนวนมากๆ ได้ (Mass Production) สิ่งที่ขับเคลื่อนการเติบโต ของเศรษฐกิจประเทศใดๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการทำ Mass Production ควบคุมมาตรฐานในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ได้และผลิตจำนวนมากได้
คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) : คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) เป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ด้วยการปฏิวัติ ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้เริ่มต้นราวๆ ปี 1955 ด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม จนกลายเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ดังในโลกยุคปัจจุบันที่เรียกกันทั่วไปว่า เป็นคลื่นลูกที่สาม (Third Wave) หรือการปฏิวัติ การสื่อสารโทรคมนาคมหรือยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศใด ให้มีความมั่งคั่งเจริญรุ่งเรืองจะขึ้นอยู่กับการมี เครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพสูง” (High Performance Network) เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงจะสร้างให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศในทุกด้าน
คลื่นลูกที่สี่:คลื่นลูกที่สี่ ตอนนี้โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่สี่แล้ว บางคนบอกว่ายุคนี้จะเป็นยุค KM (Knowledge Management) คนที่สามารถคัดเลือก information ที่ดี เป็นจริง มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าก็มีโอกาสพัฒนามากกว่า สังคมจะมีการป้อนข้อมูลที่เร็วขึ้นๆ การปิดกั้นหรือเลือกเปิดเผยเฉพาะข้อมูลที่ต้องการเท่านั้นจะหายไป ฉะนั้นพวกเราเตรียมตัวที่จะรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง Company Logo www.themegallery.com
นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ. 3/2

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การสืบค้นบนอินเตอร์เน็ต

การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต        
       ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ  จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและ   ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจึงต้องพึ่งพา Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที

การค้นหาข้อมูลมีกี่วิธี ?
1.
การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
2.
การค้นหาในรูปแบบ
Search Engine การค้นหาในรูปแบบ Index Directory      วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง
การค้นหาในรูปแบบ Search Engine 

     
วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Indexลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา

ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine

                คำตอบก็ คือวิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index เค้าจะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มี หน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่งเจ้า Software ตัวนี้จะมี ชื่อเรียกว่า Spiders การทำงานข้องมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึง กันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้นมักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั้งค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็นวันๆแน่ ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่ ดังนั้นจิงมีหลักในการค้น หา เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งจะขอกล่าวในตอนหลัง

ประเภทของ Search Engine
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ

         1.  Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสังของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
          2. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ
           3. Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Enine
         สำหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนำเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้

1.
การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ

2.
การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง

3.
การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า
meta)
4.
การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ
site
5.
ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser    ซึ่งการค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บ เพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ
                                                                                                                                               
***เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล
         ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆก็คงจะหนีไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความสะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือ จำกัดคำที่ค้น หาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด   ดังวิธีการต่อไปนี้
1.  
เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด(อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนต้นว่ามีอยู่ 2 แบบ)  ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนก็ตามแต่จะเห็นว่า เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine
2.
ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพท์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ)

3.
ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่นการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใหล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่าพอใจกว่า
4.
ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเรา ต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น "free shareware" เป็นต้น

5.
การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ ตัว อักษรใหญ่แทน
6.
ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ - AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager เป็นต้น - OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง - NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น
7.
ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ - (ลบ)ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ () ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น
(pentium+computer)cpu
8.
ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่สนใจ *tor เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ 
9.หลีก เลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ คุณก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98"
10. หลีก เลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค คุณควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้ Advanced Search อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยคุณได้มาก ในการบีบประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทำให้คุณได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากขึ้น
11. อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map ไว้คอยช่วยเหลือคุณ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/site map จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์      


   ที่มา : http://portal.edu.chula.ac.th/peng/blog/view.php?Bid=1277613762810293&msite=peng
นางสาวอมรรัตน์ ระดมบุญ ชั้น บ.กจ. 3/2