วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้


1.เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร

ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา
ครรชิต มาลัยวงศ์ (
2540) และได้เสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็น คือ
1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (
Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI
2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการแระชุมทางไกล (Video Teleconference)
3.เครือข่ายการศึกษา (
Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก
4.การใช้งานในห้องสมุด (
Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย
5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (
Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศ และเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

2.สารสนเทศสนับสนุนงานขององค์กรอย่างไร บ้าง จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ

ตอบ ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเป็นหลัก ความพิเศษของเทคโนโลยีทั้งสองนี้ก็ตรงที่ ต่างเป็นเทคโนโลยีที่เสริมซึ่งกันและกัน กล่าวคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพหากเป็นเทคโนโลยีเดี่ยว

ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบไปด้วย หลักสำคัญในการจัดการสารสนเทศเป็นจำนวนมากซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ในทางรูปแบบแนวคิดของการนำไปใช้นั้นจะมีรูปแบบที่ชัดเจนสามารถใช้วิเคราะห์และจัดการได้จากแนวคิดและแนวทางการจัดการสารสนเทศได้ตาม แนวความคิดที่ตกผลึกของกระบวนการจัดส่วนประกอบอื่นๆที่ช่วยสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

นอกจากแนวคิดระบบใหม่ๆที่ช่วยสนับสนุนสารสนเทศได้แล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่นๆที่เกิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนแนวคิดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น Service-oriented architecture (SOA)
คือ การนำแนวคิดด้านสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันที่มีการเรียกใช้บริการที่อยู่บนเน็ตเวิร์คหรืออินเทอร์เน็ต หรือมี การให้บริการแก่แอปพลิเคชันอื่นๆ ในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้กับองค์กร โดยอาศัยหลักการเว็บเซอร์วิสซึ่งเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งานภายในองค์กรถือเป็นแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร

3.เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างไรบ้าง

ตอบ องค์กรต่างๆ มีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุผลสำเร็จและก่อให้เกิดความได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยการนำเอาเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่น การควบคุมสิทธิของการใช้งานให้ผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวสามารถทำงานร่วมกันได้ การที่มีข่าวสารหรือสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องมีคลังในการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นที่เป็นระบบ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการกับเอกสาร ระบบการจัดการที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร การใช้โปรแกรมเชิงวัตถุ (object - oriented programming) ในการสร้างเว็บไซด์เพื่อการทำธุรกรรมทางการค้า เนื่องจากมีการผลิตเทคโนโลยีที่สามารถพกพาไปไหนได้อย่างสะดวก เช่น PDA , LAPTOP เป็นต้น ทำให้ง่ายสำหรับการทำงาน

4. ให้นักศึกษาอธิบายหัวข้อต่อไปนี้

ระบบสารสนเทศด้านการจัดการโซ่อุปทาน

โซ่อุปทาน หรือ ห่วงโซ่อุปทาน หรือ เครือข่ายลอจิสติกส์ คือ การใช้ระบบของหน่วยงาน คน เทคโนโลยี กิจกรรม ข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากร มาประยุกต์เข้าด้วยกัน เพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ จากผู้จัดหาไปยังลูกค้า กิจกรรมของห่วงโซ่อุปทานจะแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ และวัสดุอื่นๆให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จ แล้วส่งไปจนถึงลูกค้าคนสุดท้าย (ผู้บริโภค หรือ End Customer) ในเชิงปรัชญาของโซ่อุปทานนั้น วัสดุที่ถูกใช้แล้ว อาจจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ที่จุดไหนของห่วงโซ่อุปทานก็ได้ ถ้าวัสดุนั้นเป็นวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recyclable Materials) โซ่อุปทานมีความเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่า

ระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์

การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการจะช่วยให้เกิดการบริการลูกค้าที่ดีขึ้น การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า ทำให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งมีเป้าหมายสุดท้ายในการเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป CRM เข้ากับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้งานได้ง่าย อีกทั้งยังลดความสลับซับซ้อนที่อาจจะยังไม่ทราบได้ว่าจะเริ่มแก้จากตรงจุดไหน หน้าที่งานของระบบ CRM มักจะรวมถึง ระบบการบริหารการขาย ระบบการตลาดแบบอัตโนมัติ ระบบรองรับการบริการลูกค้า และระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center)

ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร

ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ (Enterprise Resource Planning : ERP) เป็นระบบสารสนเทศที่บูรณาการงานหลักต่างๆ ขององค์การ เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล ฯลฯ เข้าด้วยกันโดยเชื่อมโยงกันแบบเรียลไทม์ (Real Time) เพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศโดยภาพรวมและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้

ระบบสารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการสนับสนุนการไหลของข้อมูลความรู้ขององค์การ ซึ่งระบบสารสนเทศที่ออกแบบในการสนับสนุนดังกล่าวมีดังนี้

ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation Systems ) เป็นระบบที่สนับสนุนการกระจายและประสานการไหลของสารสนเทศขององค์การ

ระบบงานความรู้ ( Knowledge Work Systems ) เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมของบุคลากรวิชาชีพที่มีความรู้และทักษะเฉพาะทาง เพื่อสร้างความรู้ใหม่และจัดเก็บไว้เป็นทรัพย์สินในองค์การ

ระบบทำงานกลุ่มร่วมกัน ( Group Collaboration Systems ) เป็นระบบที่สนับสนุนการสร้างและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรในทีมงาน

การจัดทำระบบสารสนเทศดังกล่าวข้างต้นจะต้องมีการจัดทำฐานความรู้ขององค์การ ( Organization Knowledge Base ) ที่ประกอบด้วย

โครงสร้างความรู้ภายใน ( Structured Internal Knowledge ) เช่น คู่มือ ผลิตภัณฑ์ รายงานการวิจัย เป็นต้น

ความรู้ภายนอก ( External Knowledge ) เช่น ข้อมูลคู่แข่ง ข้อมูลทางการตลาด

ความรู้ภายในที่ไม่เป็นทางการ ( Informal Internal Knowledge ) หรือ Tacit Knowledge ที่เก็บอยู่ในตัวสมาชิกหรือพนักงานแต่ละคนขององค์การ แต่ไม่ได้นำมาเรียบเรียงเป็นเอกสารที่เป็นทางการ

ระบบสารสนเทศด้านอัจริยะทางธุรกิจ

ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจทวีความรุนแรงและเข้มข้นมากขึ้น อันเป็นผลมาจากความคาดหวังของผู้บริโภคที่มีต่อองค์กรธุรกิจเอง รวมทั้งความสะดวกและง่ายดายในการเข้าถึงข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อซื้อสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต และจากสังคมออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter หรือ Platform อื่นๆ ทำให้ผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการมากพอสำหรับการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในแง่มุมต่างๆ ก่อนตัดสินใจ ซื้อ สิ่งเหล่านี้ทำให้องค์กรธุรกิจ หรือแม้กระทั่งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการให้บริการต่างๆ จำเป็นที่ จะต้องปรับตัวในการดำเนินธุรกิจเพื่อความอยู่รอด เครื่องมือต่างๆ ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจก็คือ ระบบสารสนเทศอัจฉริยะเพื่อธุรกิจ (Business Intelligence) ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือสามัญประจำองค์กรอย่าง Microsoft Excel ที่สามารถนำมาประยุกต์ ใช้เป็นกระดาน Business Intelligence (BI) อย่างง่ายได้ หรือแม้กระทั่งการซื้อ Proprietary BI หรือการพัฒนาแบบ Tailor made ขึ้นมาใช้งานเป็นการเฉพาะก็ตาม ในซีรี่ย์ของการสัมมนาและ Masterclass นี้จะนำท่านไปรู้จักกับระบบ BI ทั้งในแง่ของกลยุทธ์ การบริหารจัดการ การเลือก/พัฒนาเครื่องมือที่เหมาะกับองค์กรของท่าน รวมทั้งตัวอย่างกรณี ศึกษา ปัญหาและอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข จากองค์กรชั้นนำของประเทศไทย



ที่มา : http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%207.htm






นางสาวอมรรัตน์ ระดมบุญ ชั้น บ.กจ.3/2

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ให้นักศึกษาอธิบายภาพต่อไปนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ของธุรกิจ



เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ ธุรกิจ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของธุรกิจ องค์การธุรกิจต้องสามารถ ปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของ แต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การดำเนินงาน และทรัพยากรบุคคลได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Operations) เพื่อพัฒนาและธำรง รักษาความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Abilety) ขององค์การ การประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่สอดรับกัน (Harmony) ระหว่างโครงสร้างองค์การ กลยุทธ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนสูง
 
(Executive Support System : ESS)
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง
  บทบาทของผู้บริหาร 
1) บทบาทในการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดี ผู้บริหารควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การ
2) บทบาททางด้านข้อมูลข่าวสารผู้บริหารควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับก่อนการเผยแพร่ออกสู่ภายนอกเพื่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ  
3) บทบาททางด้านการตัดสินใจของผู้บริหารควรมีความสามารถในการตัดสินใจในการคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ และสามารถควบคุมสถานการณ์หรือแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์
  ลักษณะข้อมูลสำหรับผู้บริหารระดับสูง  
ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูงได้มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การทีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้ควรนำมากลั่นกรองและคัดเลือกก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์ทั้งในเชืงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
  ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูง  
 1) ข้อมูลภายในองค์การ โดยได้จากการดำเนินงาน เช่น การปฏิบัติงาน การควบคุม การตรวจสอบ และ ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายหรือผลการดำเนินงาน เช่น งบประมาณ  แผนด้านค่าใช้จ่าย ประมาณการรายได้ แผนด้านการเงิน  
2) ข้อมูลภายนอกองค์การ ซึ่งข้อมูลนี้มีเกี่ยวข้อง หรือมีผลกระทบต่อองค์การ เช่น การแข่งขัน เศรษฐกิจ ความต้องการลูกค้า
  3) ข่าวสารที่ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน  ควรเป็นข้อมูลที่สรุปได้ใจความ มีรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจ ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System : ESS) เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง เป็นสารสนเทศที่ไม่มีโครงสร้าง อำนวยความสะดวกรวดเร็ว ง่ายต่อการเข้าใจ ทันสมัย และเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนด เป้าหมาย กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ
  ลักษณะของระบบ ESS   
                1)ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์  
              2)  ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
                3)  เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก  
              4)  สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
              5)  พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร 
                6)  มีระบบรักษาความปลอดภัย
ความสำคัญของผู้บริหารต่อการพัฒนาระบบ ESS
                ระบบ ESS เป็นระบบที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ และช่วยผลักดันและสนับสนุนด้านทรัพยากรต่างๆ ผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจและมองเห็นประโยชน์ของการนำสารสนเทศที่ได้จากระบบ ESS ไปใช้ ซึ่งการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีการวางแผลกลยุทธ์สารสนเทศที่ดีสอดคล้องกับนโยบายและแผนกลยุทธ์ขององค์การ โดยการวงแผนกลยุทธ์สารสนเทศจะดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูง
เปรียบเทียบระบบ  ESS กับระบบสารสนเทศอื่น
 
ลักษณะของระบบ
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารESS
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการMIS
วัตถุประสงค์หลัก
สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
สนับสนุนการวางแผนและตัดสินใจ
ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติการและสรุปผลสภาพการณ์
ข้อมูลนำเข้า
ข้อมูลสรุปจากภายในและภายนอกองค์การ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับ ตัวบ่งชี้ผลการปฏิบัติงานขององค์การและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
รายงานวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ การพยากรณ์ การตอบข้อถาม
รายงานสรุป รายงานสิ่งผิดปกติ สารสนเทศที่มีโครงสร้าง
ผู้ใช้
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้บริหารระดับต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์
ผู้บริหารระดับกลาง
รูปแบบของการ ตัดสินใจ
มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบ่อยรูปแบบไม่ชัดเจนหรือไม่มีโครงสร้าง
กึ่งโครงสร้าง และ ไม่มีโครงสร้าง
มีโครงสร้างแน่นอน
การใช้ข้อมูลสนับสนุน
ข้อมูลที่สนับสนุนการตัดสินใจทางอ้อม ไม่มีกฎเกณฑ์ แน่นอนตายตัวซึ่งขึ้นกับการเลือกนำข้อมูลไปใช้
ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในสถานการณ์เฉพาะด้านหรือเฉพาะเรื่อง
ข้อมูลสนับสนุนตามรูปแบบและระยะเวลาที่กำหนด
 

             ระบบ ESS บางครั้งเรียกว่าระบบ EIS ซึ่งเป็นระบบที่ให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงเช่นกันแต่ระบบ ESS ระรวมความสามารถเพิ่มเติมด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการและการจัดลำดับงาน

   
Internet ช่วยสนับสนุนการทำงานของ ESS ได้เนื่องจากเป็นแหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศของระบบ ESS ยังเป็นที่สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์การได้
ESS และ DSS แตกต่างกัน
1. ระบบ DSS จะถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับ กลางถึงระดับสูง แต่ระบบ EIS จะเน้นการให้สานสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ
 2. ระบบ DSS จะมีส่วนของการใช้งานที่ไม่ง่ายเท่ากับระบบ EIS เนื่องจากระบบอีไอเอาเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงสุดใช้เอง
3. ระบบ DSS สามารถสร้างขึ้นมาบนระบบ DSS เสมือนเป็นระบบซึ่งช่วยให้สอบถามและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบ EIS จะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบ DSS และทำการสรุปข้อมูลที่ระบบ DSS ส่งมาให้อยู่ในรูปที่ผู้บริหารสามารถเข้าใจได้ง่าย
 
ที่มา : cs.siam.edu/main/file/ESS.docx
        : isc.ru.ac.th/data/PS0005009.doc.docx 
นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2










กรณีศึกษา 3 Gulfstream Aerospace ปรับปรุงแผนก MIS เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ของบริษัท


ปัญหาและข้ออภิปราย
1. พนักงานของบริษัท Gulfstream ได้ให้ความเห็นว่าในอดีตที่ผ่านมาบริษัทเป็นองค์การที่ทำงานได้ผลดีเพราะสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายหลักๆ ได้ อย่างไรก็ตามการทำงานของบริษัทยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ระบบสารสนเทศประเภทใดบ้างที่บริษัท Gulfstream ควรจะนำมาใช้กับการจัดซื้อ-จัดหา การตกแต่งในขั้นสุดท้าย และการบริการ และการบำรุงรักษา เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
ตอบ ระบบวางแผนทรัพยากรสำหรับองค์กร ( ERP ) หลักการสร้างกรอบการทำงานเพื่อจัดการกิจกรรมทั้งหมด ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบไปจนถึงลูกค้าประกอบด้วย การวางแผน การจัดซื้อจัดหา การผลิต และการจัดส่งสินค้า การประเมินผลการปฏิบัติงาน


2. ในการจ้างนาย Willium Lawe ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาเป็น CEO ของบริษัท ท่านคิดว่ามีประโยชน์ต่อบริษัทอย่างไร
ตอบ นาย Lawe ได้มีการวางแผนกลยุทธ์ระบบการบริหารบริษัทมาหายรูปแบบ เพื่อควบคุมระบบงานในหน่วยงานย่อยๆของ Lawe คาดหวังภายในสองถึงสามปีบริษัทจะต้องมีความก้าวหน้าและขยายเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว

3. การปรับเปลี่ยนหน้าที่ของนักวิเคราะห์และโปรแกรมเมอร์มีประโยชน์ต่อบริษัท Gulfstream อย่างไร
ตอบ มีประโยชน์คือต้องมีการพัฒนาโปรแกรมมาช่วยในการทำงานได้ในแต่ละฝ่ายที่เป็นระบบการจัดการที่ขึ้นส่งต่อหน่วยกลาง

4. โครงสร้างส่วนใดของบริษัทที่ดูเหมือนว่าจะยังคงเดิมอยู่ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง CEO ของบริษัท และระบบการบริหารงานใดที่ผู้บริหารงานใหม่ได้นำมาใช้เพื่อพัฒนาบริษัท และถ้ามีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งเกิดขึ้นภายในหน่วยงานควรจะจัดการปรับเปลี่ยนอย่างไร ท่านคิดว่าระบบที่นาย Lawe นำมาใช้จะยังคงเป็นระบบรวมอำนาจอยู่ต่อไปหรือไม่ อย่างไร จงให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับระบบการกระจายอำนาจ (Decentralized)
ตอบ โครงสร้างคณะผู้บริหารที่สำคัญของบริษัทเท่านั้น ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและระบบการบริหารผู้บริหารได้สร้างระบบการจัดการที่ขึ้นตรงต่อหน่วยงานการ ทางบริษัทควรจัดเปลี่ยนโครงสร้างในแต่ละแผนกแต่ละบุคคลที่เหมาะสมกับงานและระบบที่นาย Lawe นำมาใช้เป็นการนำเอาเทคโนโลยีมารวมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่จะเกี่ยวกับบริษัทและระบบการกระจายอำนาจ (Decentralized ) ควรมีการจัดโครงสร้างที่ดีมีการมอบหมายงานที่ชัดเจนต้องระบุหน้าที่ที่เหมาะสมกับบุคลากร

5. อะไรที่เป็นอิทธิพลที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภายในแผนกสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ของบริษัท Gulfstream Aerospace และจากอิทธิผลดังกล่าวจะทำให้ลักษณะการทำงานภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
ตอบ สิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้ในแต่ละองค์กรต้องมีการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ดี สามารถแข่งขันเพื่อความได้เปรียบมากกว่าบริษัทอื่นๆ

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1.สาเหตุบ่งชี้และสัญญาณที่จะมีการเปลี่ยนองค์กรมีอะไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างให้ชัดเจน

สิ่งที่เป็นสัญญาณบอกว่าจะต้องเปลี่ยนแปลง( (มี 4 สัญญาณ) เมื่อสิ่งเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ทำงานภายในองค์กรนั้นต้องปรับตัวเปลี่ยนด้วยเพื่อให้องค์กรอยู่รอดได้
1. ผู้นำเปลี่ยน จะมีแนวคิดและรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปจากเดิม หลายสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับองค์กรจะถูกเปลี่ยน จะมีการกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ รูปแบบกลยุทธ์ใหม่ และอีกหลายสิ่ง ผู้นำที่เข้ามาใหม่โดยมากมักเร่งสร้างผลงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งหลายต้องเร่งปรับตัวเองให้สอดรับกับสิ่งที่ผู้นำประกาศออกมาเพื่อให้ตัวเองยังคงทำงานในองค์กรนั้นได้ต่อไป
2. เทคโนโลยีและนวัตกรรมเปลี่ยน สิ่งที่เคยทำมานานจะสร้างความเคยชินให้คนในองค์กรแต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนสิ่งเหล่านั้นอาจเป็นสิ่งล้าสมัยไม่อาจเป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งที่จะต่อสู้ได้ เมื่อสภาพการแข่งขันหรือองค์กรมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ คนในองค์กรต้องปรับตัว ต้องเรียนรู้ในสิ่งนั้นให้เข้าใจ และศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเรา แล้วปรับตัวเองให้สามารถเข้าถึงหรือใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างดี
3. ขนาดองค์กรเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นการลดขนาดหรือควบรวมกิจการทำให้ขนาดองค์กรใหญ่ขึ้น บุคลากรภายในองค์กรต้องปรับตัว อาจมีการโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ คนที่ไม่เหมาะสมอาจถูกปลด คนที่อยู่ต้องทำงานหนักขึ้น หรือต้องไปทำงานต่างถิ่นต่างหน่วยงาน หากบุคลากรขาดศักยภาพก็จะไม่เป็นที่ต้องการขององค์กรต่อไป
4. สินค้าและบริการเปลี่ยน เมื่อสิ่งที่องค์กรสร้างขึ้นมาไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้สิ่งเหล่านั้นย่อมสูญหายไปจากตลาด สิ่งใหม่จะเข้ามาแทนที่ องค์กรต้องมีการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ เราต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงเสมอไม่ว่าจะเป็นของคู่แข่งหรือภายในองค์กรเอง เราต้องพยายามปรับตัวเองให้พร้อมกับสิ่งใหม่ เพื่อสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้าเสมอ


นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8

1.ถ้านักศึกษาเป็นผู้บริหารในองค์กร จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นประโยชน์ในการแข่งขันด้านการตลาดของตนอย่างไร และมีข้อสังเกตอย่างไรกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ ใช้กลยุทธ์ทางสารสนเทศ คือ ทำระบบซื้อขายส่วนกลาง ตรวจตราดูแลด้านต่างๆ พร้อมทั้งควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ เป็นต้น
2.กลยุทธ์บทบาทของระบบสารสนเทศอะไร ที่จะนำมาช่วยกระบวนการปรับรื้อระบบ และการจัดการคุณภาพ
ตอบ กลยุทธ์ด้านความรวดเร็ว ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล และการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3.จงยกตัวอย่าง บริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการใช้กระบวนการปรับรื้อทางธุรกิจ
ตอบ บริษัท Uarco,Inc. กระการปรับรื้อระบบธุรกิจของ Uarco ทำให้หน่วยบริการลูกค้าสามารถรับผิดชอบการเสนอราคาต่อลูกค้าและการส่งสินค้าได้เอง ดังนั้นพนักงานจึงมีเวลาในการขายได้อย่างเต็มที่ Uarco ประมาณการว่าผลกำไรสุทธิในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้นถึง 25 เหรียญสหรัฐ อันเนื่องมาจากการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจนี้
4.จงยกตัวอย่างความสำเร็จของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ บริษัท DEC ปัจจุเป็นบริษัทลูกที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปริมาณที่มาก รวมการรับส่งไปรษณ์อิเล็กทรอนิกส์วันละหลายพันข้อความและเสนอข้อความทางสื่อประสมกับข้อมูลของผลิตภัณฑ์บนแม่ข่ายเว็บ เป็นต้น สิ่งนี้เป็นผลให้บริษัทขายคอมพิวเตอร์ Alpha ได้มากกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ
5.จงยกตัวอย่างความล้มเหลวของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ บริษัท Chase Manhattan สูญเสียผลกำไรและส่วนแบ่งทางการตลาดหหลังจากความเพียรพยายามที่จะใช้ประโยชน์ IT ในเชิงกลยุทธิ์ทางเทคโนโลยี
6.จงอธิบายถึงประโยชน์ของบริษัทเสมือน
ตอบ องค์กรจะเป็นที่รู้จักปรับตัว และรู้จักฉวยโอกาส สามารถสร้างสินค้าที่ตอบสนองลูกค้าได้อย่างตรงไปตรงมาและเป็นที่ยอมรับเชื่อถือในเชิงธุรกิจด้วยกันทั้งสองฝ่าย
7.เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเป็นกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ ซึ่งสามารถประสานงานระหว่างลูกค้า ร้านค้า และอื่นๆ ได้อย่างไร
ตอบ  โดยการเปลี่ยนขั้นตอนที่ไร้แบบแผนไปสู่การดำเนินการที่เป็นกิจวัตรหรือแบบแผน ลด หรือนำมาใช้แทนแรงงานมนุษย์ได้ และนำพาข้อมูลจำนวนมหาศาลเข้าสู่กระบวนการ เป็นต้น

นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 8


คำถามกรณีศึกษาบทที่ 8.1

1.อะไรคือความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ GATX ได้รับจากการพัฒนา ERP ซอฟต์แวร์ให้เข้ากับความต้องการ
   ตอบ ช่วยให้กระบวนการต่างๆในการดำเนินธุรกิจทำได้โดยอัตโนมัติ

2.อะไรคือประโยชน์ทางการแข่งขันที่ GATX มองหาจากการขาย ERP ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาแล้วให้กับคู่แข่ง
   ตอบ ผลประโยชน์ในการแข่งขันที่แท้จริงจะอยู่ที่ความคิดของคนที่นำซอฟต์แวร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการแข่งขัน

3.อะไรคือความเสี่ยงทางธุรกิจของกลยุทธ์นี้ของ GATX
  ตอบ ความเสี่ยงของการให้เช่าสินทรัพย์มูลค่าสูง และการขายเทคโนโลยีซอฟต์แวร์


คำถามกรณีศึกษาบทที่ 8.2

1.อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต ช่วย Ford ในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการการทำงานทางธุรกิจได้อย่างไร
  ตอบ อินทราเน็ตของ Ford เชื่อมต่อสถานีงานจำนวน 120,000 แห่ง ของสำนักงานและโรงงานทั่วโลกเข้ากับแหล่งข้อมูลนับพันๆเว็บไซด์ของ Ford

2.ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ได้จากการแลกเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานของ Fond ก่อให้เกิดอะไรบ้าง
  ตอบ Ford ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตเพื่อเปิดอินทราเน็ตของตนให้แก่ผู้จัดหาสินค้ารายใหญ่ๆ อนุญาติให้ผู้จัดหาสินค้าได้ข้อมูลที่ชัดเจนลงไป

3.ผลกำไรที่ Fond หวังว่าจะได้รับจากการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนการสั่งซื้อคืออะไร
  ตอบ คือการผลิตยานยนต์ส่วนใหญ่ได้ตามความต้องการภายในปี 1999 โดยจะจัดส่งให้ภายใน 2 สัปดาห์หลังจากการสั่งซื้อ สิ่งนี้จะประหยัดเงินได้หลายล้านเหรียญสหรัฐในสภาพคลังสินค้าและค่าใช้จ่ายปัจจุบัน


นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2

สรุปบทเรียนที่ 8

 
ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
 
ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ คือ ระบบสารสนเทศใด ๆ ที่ช่วยสนับสนุนการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การ
 
กรอบแนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
 
ในการที่จะนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงกลยุทธ์ จำเป็นต้องเข้าใจว่าเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยจะต้องพิจารณาประกอบกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน ความสามารถของหน่วยงานและกระบวนการทำงานที่นำมาใช้ด้วย
 
ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ระดับต่าง ๆ
 
โมเดลของพลังการแข่งขัน (Competitive Forces Model)
 
1) การแข่งขันจากคู่แข่งขัน (Rivalry among Existing Competitors)
2) แรงกดดันจากคู่แข่งขันรายใหม่
3) แรงกดดันจากสินค้า/บริการทดแทน
4) อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ
5) อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์
 
Porter (1985) ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเป็น 3 ประเภท คือ
 
1) กลยุทธ์โดยใช้ต้นทุนต่ำ (Cost Leadership Strategy)การผลิตสินค้า/บริการด้วยราคาที่ต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
2) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)กลยุทธ์ในการสร้างสินค้า/บริการซึ่งมีลักษณะโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งขันหรือการพัฒนาสินค้า/บริการใหม่ ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งคู่แข่งขันไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
3) กลยุทธ์ในการเน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)กลยุทธ์ในการเลือกตลาดที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายซึ่งยังเป็นช่องว่างทางตลาด (niche market) โดยอาจะผสมผสานกับกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างเรียกว่า Focused Differentiation
 
กลยุทธ์การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์
 
Cost Leadership - บริษัท Avex Electronics ได้ลดต้นทุนโดยการแลกเปลี่ยน
 
ข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบชิ้นส่วนทางอิเล็คทรอนิกส์กับลูกค้าและซัพพลายเออร์โดยผ่านอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายแบบส่วนบุคคล(private network)- Wal-Mart เสนอราคาสินค้าในราคาต่ำโดยอาศัยพันธมิตรทางธุรกิจและด้วยการมีระบบคอมพิวเตอร์ในด้านการซื้อและการจัดการวัสดุคงคลังDifferentiation ธนาคารเสมือนจริง (Virtual banking) เป็นเครือข่ายของธนาคารต่างๆ ซึ่งอนุญาตให้ลูกค้าเข้าไปดูบัญชีธนาคารของตนเองรวมทั้งตรวจสอบยอดบัญชี ชำระค่าบริการต่างๆ การบริการอื่นๆ 24 ชั่วโมง โดยผ่าน world wide webFocused โรงแรมไฮแอทติดตามกิจกรรมของผู้เข้าชม Travel Web Site ซึ่งDifferentiation จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมในเครือ และสามารถวิเคราะห์และจัดการ เรื่องการพักโรงแรมให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

 
ทฤษฎีของแรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Theory of Strategic Thrust)
 
ทฤษฎีของแรงผลักดันด้านกลยุทธ์
 
Wiseman (1985) ได้เสนอกรอบความคิดเพื่อใช้ในการพิจารณาหาโอกาสในการใช้สารสนเทศเพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน โดยอาศัยพื้นฐานแนวความคิดจาก Chandler และ Porter กรอบความคิดของ Wiseman เรียกว่า ทฤษฎีแรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Theory of Strategic Thrust) ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
 
1. เป้าหมายของกลยุทธ์ (Target)
2. แรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Strategic Thrust)
3. แนวทางของแรงผลักดัน (Mode of the Thrust)
4. ทิศทางของแรงผลักดัน (Direction of the Thrust)
 
ข้อแนะนำในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
Senn (1992) ได้แนะนำผู้บริหารในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนี้
 
1. พิจารณากระบวนการทำงานก่อนนำระบบสารสนเทศมาติดตั้ง
2. ควรให้เจ้าหน้าที่แผนกสารสนเทศมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่แผนอื่น รวมทั้งลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพนักงานขาย
3. เริ่มพัฒนาผลงานชิ้นต่อไปก่อนที่จะนำผลงานในปัจจุบันออกสู่ตลาด
4. การใช้ระบบสารสนเทศจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของหน่วยงาน
 
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์( Portes’s Competitive Force Model)
 
ไมเคิลอี. พอร์เตอร์ได้พัฒนาโมเดลเพื่อวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน โดยองค์การจะประสบแรงผลักดันในการแข่งขัน ( Competitive Forces )ดังนี้
 
1.อุปสรรคจากผู้แข่งขันรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาด( Threat ofEntryof NewCompetitors)
2.อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต( Bargaining PowerofSuppliers )
3.อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ หรือ ลูกค้า(Bargaining Powerof Buyers/Customers )
4.การแข่งขันระหว่างกิจการต่างๆในอุตสาหกรรม( Rivaly AmongExistingCompetitors )
5.อุปสรรคที่เกิดจากสินค้า หรือ บริการทดแทน( Threat ofSubstitute Products/Services )
 
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์
           
พอร์เตอร์ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันดังนี้
 
1. กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (CostLeadership Strategy)องค์การจะต้องค้นหาให้ได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ดีในความรู้สึกของลูกค้ามีลักษณะพื้นฐานอย่างไร และจะต้องบริหารกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการนั้นให้มีต้นทุนต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (DifferentiationStrategy ) การสร้างบริการขององค์การให้มีลักษณะที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งขัน ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ทำให้ลูกค้ายึดติดในสินค้า และบริการนั้น
             3. กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย(FocusStrategy) การเลือกตลาดเป้าหมายสำหรับสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะแคบลง หรือ มีตลาดเฉพาะด้าน ซึ่งจะมีคู่แข่งน้อยลง แต่มีช่องว่างทางการตลาด กลยุทธ์นี้จะใช้ความพิเศษเหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งในด้านสินค้า และ บริการเช่นกระเป๋ายี่ห้อดัง ( Brand Name )รถยนต์ที่เน้นความปลอดภัยขอผู้ขับขี่และผู้โดยสารนาฬิกาสวิส์สุดยอดแห่งความเที่ยงตรง คงทนและงดงาม
นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2