วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ให้นักศึกษาอธิบายภาพต่อไปนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ของธุรกิจ



เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ ธุรกิจ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของธุรกิจ องค์การธุรกิจต้องสามารถ ปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของ แต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การดำเนินงาน และทรัพยากรบุคคลได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Operations) เพื่อพัฒนาและธำรง รักษาความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Abilety) ขององค์การ การประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่สอดรับกัน (Harmony) ระหว่างโครงสร้างองค์การ กลยุทธ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนสูง
 
(Executive Support System : ESS)
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง
  บทบาทของผู้บริหาร 
1) บทบาทในการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดี ผู้บริหารควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การ
2) บทบาททางด้านข้อมูลข่าวสารผู้บริหารควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับก่อนการเผยแพร่ออกสู่ภายนอกเพื่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ  
3) บทบาททางด้านการตัดสินใจของผู้บริหารควรมีความสามารถในการตัดสินใจในการคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ และสามารถควบคุมสถานการณ์หรือแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์
  ลักษณะข้อมูลสำหรับผู้บริหารระดับสูง  
ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูงได้มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การทีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้ควรนำมากลั่นกรองและคัดเลือกก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์ทั้งในเชืงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
  ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูง  
 1) ข้อมูลภายในองค์การ โดยได้จากการดำเนินงาน เช่น การปฏิบัติงาน การควบคุม การตรวจสอบ และ ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายหรือผลการดำเนินงาน เช่น งบประมาณ  แผนด้านค่าใช้จ่าย ประมาณการรายได้ แผนด้านการเงิน  
2) ข้อมูลภายนอกองค์การ ซึ่งข้อมูลนี้มีเกี่ยวข้อง หรือมีผลกระทบต่อองค์การ เช่น การแข่งขัน เศรษฐกิจ ความต้องการลูกค้า
  3) ข่าวสารที่ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน  ควรเป็นข้อมูลที่สรุปได้ใจความ มีรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจ ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System : ESS) เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง เป็นสารสนเทศที่ไม่มีโครงสร้าง อำนวยความสะดวกรวดเร็ว ง่ายต่อการเข้าใจ ทันสมัย และเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนด เป้าหมาย กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ
  ลักษณะของระบบ ESS   
                1)ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์  
              2)  ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
                3)  เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก  
              4)  สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
              5)  พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร 
                6)  มีระบบรักษาความปลอดภัย
ความสำคัญของผู้บริหารต่อการพัฒนาระบบ ESS
                ระบบ ESS เป็นระบบที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ และช่วยผลักดันและสนับสนุนด้านทรัพยากรต่างๆ ผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจและมองเห็นประโยชน์ของการนำสารสนเทศที่ได้จากระบบ ESS ไปใช้ ซึ่งการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีการวางแผลกลยุทธ์สารสนเทศที่ดีสอดคล้องกับนโยบายและแผนกลยุทธ์ขององค์การ โดยการวงแผนกลยุทธ์สารสนเทศจะดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูง
เปรียบเทียบระบบ  ESS กับระบบสารสนเทศอื่น
 
ลักษณะของระบบ
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารESS
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการMIS
วัตถุประสงค์หลัก
สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
สนับสนุนการวางแผนและตัดสินใจ
ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติการและสรุปผลสภาพการณ์
ข้อมูลนำเข้า
ข้อมูลสรุปจากภายในและภายนอกองค์การ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับ ตัวบ่งชี้ผลการปฏิบัติงานขององค์การและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
รายงานวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ การพยากรณ์ การตอบข้อถาม
รายงานสรุป รายงานสิ่งผิดปกติ สารสนเทศที่มีโครงสร้าง
ผู้ใช้
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้บริหารระดับต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์
ผู้บริหารระดับกลาง
รูปแบบของการ ตัดสินใจ
มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบ่อยรูปแบบไม่ชัดเจนหรือไม่มีโครงสร้าง
กึ่งโครงสร้าง และ ไม่มีโครงสร้าง
มีโครงสร้างแน่นอน
การใช้ข้อมูลสนับสนุน
ข้อมูลที่สนับสนุนการตัดสินใจทางอ้อม ไม่มีกฎเกณฑ์ แน่นอนตายตัวซึ่งขึ้นกับการเลือกนำข้อมูลไปใช้
ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในสถานการณ์เฉพาะด้านหรือเฉพาะเรื่อง
ข้อมูลสนับสนุนตามรูปแบบและระยะเวลาที่กำหนด
 

             ระบบ ESS บางครั้งเรียกว่าระบบ EIS ซึ่งเป็นระบบที่ให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงเช่นกันแต่ระบบ ESS ระรวมความสามารถเพิ่มเติมด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการและการจัดลำดับงาน

   
Internet ช่วยสนับสนุนการทำงานของ ESS ได้เนื่องจากเป็นแหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศของระบบ ESS ยังเป็นที่สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์การได้
ESS และ DSS แตกต่างกัน
1. ระบบ DSS จะถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับ กลางถึงระดับสูง แต่ระบบ EIS จะเน้นการให้สานสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ
 2. ระบบ DSS จะมีส่วนของการใช้งานที่ไม่ง่ายเท่ากับระบบ EIS เนื่องจากระบบอีไอเอาเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงสุดใช้เอง
3. ระบบ DSS สามารถสร้างขึ้นมาบนระบบ DSS เสมือนเป็นระบบซึ่งช่วยให้สอบถามและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบ EIS จะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบ DSS และทำการสรุปข้อมูลที่ระบบ DSS ส่งมาให้อยู่ในรูปที่ผู้บริหารสามารถเข้าใจได้ง่าย
 
ที่มา : cs.siam.edu/main/file/ESS.docx
        : isc.ru.ac.th/data/PS0005009.doc.docx 
นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น