ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ คือ ระบบสารสนเทศใด ๆ ที่ช่วยสนับสนุนการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การ
กรอบแนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ในการที่จะนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงกลยุทธ์ จำเป็นต้องเข้าใจว่าเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยจะต้องพิจารณาประกอบกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน ความสามารถของหน่วยงานและกระบวนการทำงานที่นำมาใช้ด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ระดับต่าง ๆ
โมเดลของพลังการแข่งขัน (Competitive Forces Model)
1) การแข่งขันจากคู่แข่งขัน (Rivalry among Existing Competitors)
2) แรงกดดันจากคู่แข่งขันรายใหม่
3) แรงกดดันจากสินค้า/บริการทดแทน
4) อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ
5) อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์
Porter (1985) ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเป็น 3 ประเภท คือ
1) กลยุทธ์โดยใช้ต้นทุนต่ำ (Cost Leadership Strategy)การผลิตสินค้า/บริการด้วยราคาที่ต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
2) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)กลยุทธ์ในการสร้างสินค้า/บริการซึ่งมีลักษณะโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งขันหรือการพัฒนาสินค้า/บริการใหม่ ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งคู่แข่งขันไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
3) กลยุทธ์ในการเน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)กลยุทธ์ในการเลือกตลาดที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายซึ่งยังเป็นช่องว่างทางตลาด (niche market) โดยอาจะผสมผสานกับกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างเรียกว่า Focused Differentiation
กลยุทธ์การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์
Cost Leadership - บริษัท Avex Electronics ได้ลดต้นทุนโดยการแลกเปลี่ยน
ข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบชิ้นส่วนทางอิเล็คทรอนิกส์กับลูกค้าและซัพพลายเออร์โดยผ่านอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายแบบส่วนบุคคล(private network)- Wal-Mart เสนอราคาสินค้าในราคาต่ำโดยอาศัยพันธมิตรทางธุรกิจและด้วยการมีระบบคอมพิวเตอร์ในด้านการซื้อและการจัดการวัสดุคงคลังDifferentiation ธนาคารเสมือนจริง (Virtual banking) เป็นเครือข่ายของธนาคารต่างๆ ซึ่งอนุญาตให้ลูกค้าเข้าไปดูบัญชีธนาคารของตนเองรวมทั้งตรวจสอบยอดบัญชี ชำระค่าบริการต่างๆ การบริการอื่นๆ 24 ชั่วโมง โดยผ่าน world wide webFocused โรงแรมไฮแอทติดตามกิจกรรมของผู้เข้าชม Travel Web Site ซึ่งDifferentiation จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมในเครือ และสามารถวิเคราะห์และจัดการ เรื่องการพักโรงแรมให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
ทฤษฎีของแรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Theory of Strategic Thrust)
ทฤษฎีของแรงผลักดันด้านกลยุทธ์
Wiseman (1985) ได้เสนอกรอบความคิดเพื่อใช้ในการพิจารณาหาโอกาสในการใช้สารสนเทศเพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน โดยอาศัยพื้นฐานแนวความคิดจาก Chandler และ Porter กรอบความคิดของ Wiseman เรียกว่า ทฤษฎีแรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Theory of Strategic Thrust) ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. เป้าหมายของกลยุทธ์ (Target)
2. แรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Strategic Thrust)
3. แนวทางของแรงผลักดัน (Mode of the Thrust)
4. ทิศทางของแรงผลักดัน (Direction of the Thrust)
ข้อแนะนำในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
Senn (1992) ได้แนะนำผู้บริหารในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนี้
1. พิจารณากระบวนการทำงานก่อนนำระบบสารสนเทศมาติดตั้ง
2. ควรให้เจ้าหน้าที่แผนกสารสนเทศมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่แผนอื่น รวมทั้งลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพนักงานขาย
3. เริ่มพัฒนาผลงานชิ้นต่อไปก่อนที่จะนำผลงานในปัจจุบันออกสู่ตลาด
4. การใช้ระบบสารสนเทศจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของหน่วยงาน
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์( Portes’s Competitive Force Model)
ไมเคิลอี. พอร์เตอร์ได้พัฒนาโมเดลเพื่อวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน โดยองค์การจะประสบแรงผลักดันในการแข่งขัน ( Competitive Forces )ดังนี้
1.อุปสรรคจากผู้แข่งขันรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาด( Threat ofEntryof NewCompetitors)
2.อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต( Bargaining PowerofSuppliers )
3.อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ หรือ ลูกค้า(Bargaining Powerof Buyers/Customers )
4.การแข่งขันระหว่างกิจการต่างๆในอุตสาหกรรม( Rivaly AmongExistingCompetitors )
5.อุปสรรคที่เกิดจากสินค้า หรือ บริการทดแทน( Threat ofSubstitute Products/Services )
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์
พอร์เตอร์ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันดังนี้
1. กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (CostLeadership Strategy)องค์การจะต้องค้นหาให้ได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ดีในความรู้สึกของลูกค้ามีลักษณะพื้นฐานอย่างไร และจะต้องบริหารกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการนั้นให้มีต้นทุนต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (DifferentiationStrategy ) การสร้างบริการขององค์การให้มีลักษณะที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งขัน ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ทำให้ลูกค้ายึดติดในสินค้า และบริการนั้น
3. กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย(FocusStrategy) การเลือกตลาดเป้าหมายสำหรับสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะแคบลง หรือ มีตลาดเฉพาะด้าน ซึ่งจะมีคู่แข่งน้อยลง แต่มีช่องว่างทางการตลาด กลยุทธ์นี้จะใช้ความพิเศษเหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งในด้านสินค้า และ บริการเช่นกระเป๋ายี่ห้อดัง ( Brand Name )รถยนต์ที่เน้นความปลอดภัยขอผู้ขับขี่และผู้โดยสารนาฬิกา “ สวิส์ ” สุดยอดแห่งความเที่ยงตรง คงทนและงดงาม
ที่มา : http://elearning.northcm.ac.th/mis/lesson.asp?LessonID=12
http://armka2518.exteen.com/20090222/entry
http://armka2518.exteen.com/20090222/entry
นางสาวอมรรัตน์ ระดมบุญ ชั้น บ.กจ.3/2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น