วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1.สาเหตุบ่งชี้และสัญญาณที่จะมีการเปลี่ยนองค์กรมีอะไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างให้ชัดเจน

สิ่งที่เป็นสัญญาณบอกว่าจะต้องเปลี่ยนแปลง( (มี 4 สัญญาณ) เมื่อสิ่งเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ทำงานภายในองค์กรนั้นต้องปรับตัวเปลี่ยนด้วยเพื่อให้องค์กรอยู่รอดได้
1. ผู้นำเปลี่ยน จะมีแนวคิดและรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปจากเดิม หลายสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับองค์กรจะถูกเปลี่ยน จะมีการกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ รูปแบบกลยุทธ์ใหม่ และอีกหลายสิ่ง ผู้นำที่เข้ามาใหม่โดยมากมักเร่งสร้างผลงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งหลายต้องเร่งปรับตัวเองให้สอดรับกับสิ่งที่ผู้นำประกาศออกมาเพื่อให้ตัวเองยังคงทำงานในองค์กรนั้นได้ต่อไป
2. เทคโนโลยีและนวัตกรรมเปลี่ยน สิ่งที่เคยทำมานานจะสร้างความเคยชินให้คนในองค์กรแต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนสิ่งเหล่านั้นอาจเป็นสิ่งล้าสมัยไม่อาจเป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งที่จะต่อสู้ได้ เมื่อสภาพการแข่งขันหรือองค์กรมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ คนในองค์กรต้องปรับตัว ต้องเรียนรู้ในสิ่งนั้นให้เข้าใจ และศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเรา แล้วปรับตัวเองให้สามารถเข้าถึงหรือใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างดี
3. ขนาดองค์กรเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นการลดขนาดหรือควบรวมกิจการทำให้ขนาดองค์กรใหญ่ขึ้น บุคลากรภายในองค์กรต้องปรับตัว อาจมีการโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ คนที่ไม่เหมาะสมอาจถูกปลด คนที่อยู่ต้องทำงานหนักขึ้น หรือต้องไปทำงานต่างถิ่นต่างหน่วยงาน หากบุคลากรขาดศักยภาพก็จะไม่เป็นที่ต้องการขององค์กรต่อไป
4. สินค้าและบริการเปลี่ยน เมื่อสิ่งที่องค์กรสร้างขึ้นมาไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้สิ่งเหล่านั้นย่อมสูญหายไปจากตลาด สิ่งใหม่จะเข้ามาแทนที่ องค์กรต้องมีการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ เราต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงเสมอไม่ว่าจะเป็นของคู่แข่งหรือภายในองค์กรเอง เราต้องพยายามปรับตัวเองให้พร้อมกับสิ่งใหม่ เพื่อสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้าเสมอ


นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8

1.ถ้านักศึกษาเป็นผู้บริหารในองค์กร จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นประโยชน์ในการแข่งขันด้านการตลาดของตนอย่างไร และมีข้อสังเกตอย่างไรกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ ใช้กลยุทธ์ทางสารสนเทศ คือ ทำระบบซื้อขายส่วนกลาง ตรวจตราดูแลด้านต่างๆ พร้อมทั้งควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ เป็นต้น
2.กลยุทธ์บทบาทของระบบสารสนเทศอะไร ที่จะนำมาช่วยกระบวนการปรับรื้อระบบ และการจัดการคุณภาพ
ตอบ กลยุทธ์ด้านความรวดเร็ว ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล และการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3.จงยกตัวอย่าง บริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการใช้กระบวนการปรับรื้อทางธุรกิจ
ตอบ บริษัท Uarco,Inc. กระการปรับรื้อระบบธุรกิจของ Uarco ทำให้หน่วยบริการลูกค้าสามารถรับผิดชอบการเสนอราคาต่อลูกค้าและการส่งสินค้าได้เอง ดังนั้นพนักงานจึงมีเวลาในการขายได้อย่างเต็มที่ Uarco ประมาณการว่าผลกำไรสุทธิในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้นถึง 25 เหรียญสหรัฐ อันเนื่องมาจากการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจนี้
4.จงยกตัวอย่างความสำเร็จของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ บริษัท DEC ปัจจุเป็นบริษัทลูกที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปริมาณที่มาก รวมการรับส่งไปรษณ์อิเล็กทรอนิกส์วันละหลายพันข้อความและเสนอข้อความทางสื่อประสมกับข้อมูลของผลิตภัณฑ์บนแม่ข่ายเว็บ เป็นต้น สิ่งนี้เป็นผลให้บริษัทขายคอมพิวเตอร์ Alpha ได้มากกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ
5.จงยกตัวอย่างความล้มเหลวของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ บริษัท Chase Manhattan สูญเสียผลกำไรและส่วนแบ่งทางการตลาดหหลังจากความเพียรพยายามที่จะใช้ประโยชน์ IT ในเชิงกลยุทธิ์ทางเทคโนโลยี
6.จงอธิบายถึงประโยชน์ของบริษัทเสมือน
ตอบ องค์กรจะเป็นที่รู้จักปรับตัว และรู้จักฉวยโอกาส สามารถสร้างสินค้าที่ตอบสนองลูกค้าได้อย่างตรงไปตรงมาและเป็นที่ยอมรับเชื่อถือในเชิงธุรกิจด้วยกันทั้งสองฝ่าย
7.เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเป็นกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ ซึ่งสามารถประสานงานระหว่างลูกค้า ร้านค้า และอื่นๆ ได้อย่างไร
ตอบ  โดยการเปลี่ยนขั้นตอนที่ไร้แบบแผนไปสู่การดำเนินการที่เป็นกิจวัตรหรือแบบแผน ลด หรือนำมาใช้แทนแรงงานมนุษย์ได้ และนำพาข้อมูลจำนวนมหาศาลเข้าสู่กระบวนการ เป็นต้น

นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 8


คำถามกรณีศึกษาบทที่ 8.1

1.อะไรคือความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ GATX ได้รับจากการพัฒนา ERP ซอฟต์แวร์ให้เข้ากับความต้องการ
   ตอบ ช่วยให้กระบวนการต่างๆในการดำเนินธุรกิจทำได้โดยอัตโนมัติ

2.อะไรคือประโยชน์ทางการแข่งขันที่ GATX มองหาจากการขาย ERP ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาแล้วให้กับคู่แข่ง
   ตอบ ผลประโยชน์ในการแข่งขันที่แท้จริงจะอยู่ที่ความคิดของคนที่นำซอฟต์แวร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการแข่งขัน

3.อะไรคือความเสี่ยงทางธุรกิจของกลยุทธ์นี้ของ GATX
  ตอบ ความเสี่ยงของการให้เช่าสินทรัพย์มูลค่าสูง และการขายเทคโนโลยีซอฟต์แวร์


คำถามกรณีศึกษาบทที่ 8.2

1.อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต ช่วย Ford ในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการการทำงานทางธุรกิจได้อย่างไร
  ตอบ อินทราเน็ตของ Ford เชื่อมต่อสถานีงานจำนวน 120,000 แห่ง ของสำนักงานและโรงงานทั่วโลกเข้ากับแหล่งข้อมูลนับพันๆเว็บไซด์ของ Ford

2.ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ได้จากการแลกเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานของ Fond ก่อให้เกิดอะไรบ้าง
  ตอบ Ford ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตเพื่อเปิดอินทราเน็ตของตนให้แก่ผู้จัดหาสินค้ารายใหญ่ๆ อนุญาติให้ผู้จัดหาสินค้าได้ข้อมูลที่ชัดเจนลงไป

3.ผลกำไรที่ Fond หวังว่าจะได้รับจากการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนการสั่งซื้อคืออะไร
  ตอบ คือการผลิตยานยนต์ส่วนใหญ่ได้ตามความต้องการภายในปี 1999 โดยจะจัดส่งให้ภายใน 2 สัปดาห์หลังจากการสั่งซื้อ สิ่งนี้จะประหยัดเงินได้หลายล้านเหรียญสหรัฐในสภาพคลังสินค้าและค่าใช้จ่ายปัจจุบัน


นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2

สรุปบทเรียนที่ 8

 
ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
 
ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ คือ ระบบสารสนเทศใด ๆ ที่ช่วยสนับสนุนการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การ
 
กรอบแนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
 
ในการที่จะนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงกลยุทธ์ จำเป็นต้องเข้าใจว่าเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยจะต้องพิจารณาประกอบกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน ความสามารถของหน่วยงานและกระบวนการทำงานที่นำมาใช้ด้วย
 
ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ระดับต่าง ๆ
 
โมเดลของพลังการแข่งขัน (Competitive Forces Model)
 
1) การแข่งขันจากคู่แข่งขัน (Rivalry among Existing Competitors)
2) แรงกดดันจากคู่แข่งขันรายใหม่
3) แรงกดดันจากสินค้า/บริการทดแทน
4) อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ
5) อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์
 
Porter (1985) ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเป็น 3 ประเภท คือ
 
1) กลยุทธ์โดยใช้ต้นทุนต่ำ (Cost Leadership Strategy)การผลิตสินค้า/บริการด้วยราคาที่ต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
2) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)กลยุทธ์ในการสร้างสินค้า/บริการซึ่งมีลักษณะโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งขันหรือการพัฒนาสินค้า/บริการใหม่ ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งคู่แข่งขันไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
3) กลยุทธ์ในการเน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)กลยุทธ์ในการเลือกตลาดที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายซึ่งยังเป็นช่องว่างทางตลาด (niche market) โดยอาจะผสมผสานกับกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างเรียกว่า Focused Differentiation
 
กลยุทธ์การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์
 
Cost Leadership - บริษัท Avex Electronics ได้ลดต้นทุนโดยการแลกเปลี่ยน
 
ข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบชิ้นส่วนทางอิเล็คทรอนิกส์กับลูกค้าและซัพพลายเออร์โดยผ่านอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายแบบส่วนบุคคล(private network)- Wal-Mart เสนอราคาสินค้าในราคาต่ำโดยอาศัยพันธมิตรทางธุรกิจและด้วยการมีระบบคอมพิวเตอร์ในด้านการซื้อและการจัดการวัสดุคงคลังDifferentiation ธนาคารเสมือนจริง (Virtual banking) เป็นเครือข่ายของธนาคารต่างๆ ซึ่งอนุญาตให้ลูกค้าเข้าไปดูบัญชีธนาคารของตนเองรวมทั้งตรวจสอบยอดบัญชี ชำระค่าบริการต่างๆ การบริการอื่นๆ 24 ชั่วโมง โดยผ่าน world wide webFocused โรงแรมไฮแอทติดตามกิจกรรมของผู้เข้าชม Travel Web Site ซึ่งDifferentiation จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมในเครือ และสามารถวิเคราะห์และจัดการ เรื่องการพักโรงแรมให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

 
ทฤษฎีของแรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Theory of Strategic Thrust)
 
ทฤษฎีของแรงผลักดันด้านกลยุทธ์
 
Wiseman (1985) ได้เสนอกรอบความคิดเพื่อใช้ในการพิจารณาหาโอกาสในการใช้สารสนเทศเพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน โดยอาศัยพื้นฐานแนวความคิดจาก Chandler และ Porter กรอบความคิดของ Wiseman เรียกว่า ทฤษฎีแรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Theory of Strategic Thrust) ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
 
1. เป้าหมายของกลยุทธ์ (Target)
2. แรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Strategic Thrust)
3. แนวทางของแรงผลักดัน (Mode of the Thrust)
4. ทิศทางของแรงผลักดัน (Direction of the Thrust)
 
ข้อแนะนำในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
Senn (1992) ได้แนะนำผู้บริหารในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนี้
 
1. พิจารณากระบวนการทำงานก่อนนำระบบสารสนเทศมาติดตั้ง
2. ควรให้เจ้าหน้าที่แผนกสารสนเทศมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่แผนอื่น รวมทั้งลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพนักงานขาย
3. เริ่มพัฒนาผลงานชิ้นต่อไปก่อนที่จะนำผลงานในปัจจุบันออกสู่ตลาด
4. การใช้ระบบสารสนเทศจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของหน่วยงาน
 
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์( Portes’s Competitive Force Model)
 
ไมเคิลอี. พอร์เตอร์ได้พัฒนาโมเดลเพื่อวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน โดยองค์การจะประสบแรงผลักดันในการแข่งขัน ( Competitive Forces )ดังนี้
 
1.อุปสรรคจากผู้แข่งขันรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาด( Threat ofEntryof NewCompetitors)
2.อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต( Bargaining PowerofSuppliers )
3.อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ หรือ ลูกค้า(Bargaining Powerof Buyers/Customers )
4.การแข่งขันระหว่างกิจการต่างๆในอุตสาหกรรม( Rivaly AmongExistingCompetitors )
5.อุปสรรคที่เกิดจากสินค้า หรือ บริการทดแทน( Threat ofSubstitute Products/Services )
 
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์
           
พอร์เตอร์ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันดังนี้
 
1. กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (CostLeadership Strategy)องค์การจะต้องค้นหาให้ได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ดีในความรู้สึกของลูกค้ามีลักษณะพื้นฐานอย่างไร และจะต้องบริหารกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการนั้นให้มีต้นทุนต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (DifferentiationStrategy ) การสร้างบริการขององค์การให้มีลักษณะที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งขัน ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ทำให้ลูกค้ายึดติดในสินค้า และบริการนั้น
             3. กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย(FocusStrategy) การเลือกตลาดเป้าหมายสำหรับสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะแคบลง หรือ มีตลาดเฉพาะด้าน ซึ่งจะมีคู่แข่งน้อยลง แต่มีช่องว่างทางการตลาด กลยุทธ์นี้จะใช้ความพิเศษเหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งในด้านสินค้า และ บริการเช่นกระเป๋ายี่ห้อดัง ( Brand Name )รถยนต์ที่เน้นความปลอดภัยขอผู้ขับขี่และผู้โดยสารนาฬิกาสวิส์สุดยอดแห่งความเที่ยงตรง คงทนและงดงาม
นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

1.อะไรคือความแตกต่างระหว่างความสามารถของผู้บริหารในการเรียกข้อมูลออกมาใช้ตามความต้องการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และความสามารถจัดการเรื่องบริหารการตัดสินใจโดยใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
   ตอบ  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
             การเตรียมงานสนับสนุนการตัดสินใจ : มีการเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานภายในองค์การ
             รูปแบบสารสนเทศและความถี่ : ช่วงเวลา การยกเว้น ความต้องการและการดึงรายงานออกมา และการตอบสนอง
             รูปแบบของสารสนเทศ : การกำหนดล่วงหน้า การจำกัดรูปแบบ
             ระเบียบวิธีในกระบวนการสารสนเทศ : การสร้างข้อมูลโดยการโอนหรือการย้ายของข้อมูลธุรกิจ
             ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
             การเตรียมงานสนับสนุนการตัดสินใจ : มีการเตรียมข้อมูลและเทคนิคการตัดสินใจในการวิเคราะห์ปัญหาเฉพาะหรือโอกาส
             รูปแบบสารสนเทศและความถี่ : การตรวจสอบการติดต่อระหว่างกันและการตอบสนอง           
             รูปแบบของสารสนเทศ : เฉพาะตามต้องการ มีความยืดหยุ่นและรูปแบบที่สามารถปรับใช้ได้             
             ระเบียบวิธีในกระบวนการสารสนเทศ : การสร้างข้อมูลจากรูปแบบจำลองในการวิเคราะห์ของข้อมูลธุกิจ
2.ระบบงานการขาย มีความก้าวหน้ากว่าแต่ก่อนมาก เมื่อต้องการข้อมูลสำหรับการทำงานในองค์กรณ์ เนื่องจากความต้องการเรื่องกลยุทธ์ เทคนิค และการบริหารการตัดสินใจในธุรกิจเปลี่ยนไป ให้นักศึกษาอธิบายการเปลี่ยนแปลงนี้
   ตอบ  การจัดการด้านกลยุทธ์ คณะกรรมการอำนวยการ สมาชิกผู้บริหาร และผู้หารระดับสูง กำหนดเป้าหมายกลยุทธ์ นโยบายและการวางแผนในองค์กร โดยพิจารณาจากกลยุทธ์ขององค์กรและภาพรวมของทิศทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการแข่งขันทางธุรกิจ
             การจัดการด้านยุทธวิธี ผู้จัดการหน่วยงาน วางแผนระยะสั้นและระยะกลาง กำหนดตารางเวลา งบประมาณและนโยบายขั้นตอนการทำงานและเป้าหมายทางธุรกิจสำหรับหน่วยย่อยภายในองค์กร การจัดสรรแหล่งข้อมูลและตรวจดูการทำงานของหน่วยย่อยภายในองค์กร ขั้นตอนการทำงานของทีมงาน ทีมงานโครงการและกลุ่มทำงาน
              การจัดการด้านการปฏิบัติการ สมาชิกภายในกลุ่มหรือการปฏิบัติการของผู้จัดการ ในการจัดการวางแผนระยะสั้น เช่น ตารางการผลิตในแต่ละสัปดาห์ การใช้แหล่งข้อมูลและการปฏิบัติงานตามขั้นตอนภายใต้งบประมาณและตารางเวลาที่ได้ตั้งเอาไว้
3.มีแนวทางไหนบ้าง ที่นักศึกษาใช้โปรแกรมตารางคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาช่วยในการตัดสินใจ
   ตอบ การจำลองรูปแบบการจำลองที่มีการสนับสนุนประเภทในการตัดสินใจ เช่นโปรแกรมคำนวณรูปแบบตารางที่มีการพิจารณาในความสัมพันธ์กะบตัวแปร เช่น รายได้-ค่าใช้จ่าย=กำไร เป็นต้น
4.ทำไมการใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง จึงขยายไปยังระดับกลาง และขยายไปทั่วหมดทุกแผนกในองค์กร
   ตอบ เพราะความต้องการข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้ที่ต้องตัดสินใจ ประเภทของข้อมูลที่ต้องการจากผู้บริหารผู้จัดการและสมาชิกในทีมงาน ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ของระดับในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องและโครงสร้างสำเหตุการณ์ของการตัดสินใจที่้ต้องเผชิญหน้า
5.ทำไมเครื่องคอมพิวเตอร์จึงสามารถคิดได้ อธิบายเหตุผล
   ตอบ เพราะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ คือ การพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้สามารถคิด มองเห็น ได้ยิน เดิน พูด และมีความรู้สึก
6.การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในองค์กร ส่วนไหนสำคัญที่สุด บอกเหตุผลที่นักศึกษาเลือก
   ตอบ  พฤติกรรมของปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งปัญญาประดิษฐ์มีความพยามที่จะจำลองความสามารถของระบบที่ภายในคอมพิวเตอร์
7.การผสมผสานระหว่างระบบผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายเส้นประสาท จะก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง นักศึกษาคาดหวังว่าจะเกิดเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างไรบ้าง
   ตอบ มีการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้เพื่ออำนวยความสะดวกที่ดีกับความต้องการของมนุษย์มากขึ้น
8.อะไรคือขอบเขตจำกัด หรืออันตรายที่นักศึกษามองเห็น ในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ความจริงเสมือน และตัวแทนสติปัญญา และอะไรที่จะลดขนาดของผลกระทบเหล่านี้ลงได้
   ตอบ คือ ต้นทุนของเทคโนโลยี ขาดความสามาถในการเรียนรู้ และต้นทุนในการพัฒนา การแก้ไขปัญหาเฉพาะที่อยู่ในเขตความรู้ที่จำกัดขอบเขต เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญอาจจะช่วยให้คำปรึกษาทางด้านการเงินที่มีการแนะนำการพัฒนาทางเลือกสำหรับนักลงทุนใหม่แก่ลูกค้า

นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 7

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 7.1

1.ทำไมการทำงานร่วมกันในระบบอินทราเน็ตจึงกลายมาเป็น "ระบบสารสนเทศของทุกๆคน"
   ตอบ เพราะเป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญสำหรับบริษัทหลายๆแห่ง
2.อะไรเป็นแนวคิดระบบสารสนเทศที่คุณได้จากระบบอินทราเน็ตของบริษัทและเครื่องมือค้นหาของ Fulcrum
   ตอบ Parsons Brinckhoff เป็นเครื่องมือในระบบค้นหาอินทราเน็ตได้ช่วยเพิ่มการคืนทุนและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยการลดเวลาที่ไม่จำเป็นสำหรับการเข้าถึงและจัดการข้อมูลสารสนเทศในระบบอินทราเน็ตภายในบริษัท
3.อะไรเป็นผลประโยชน์ในทางธุรกิจสำหรับระบบอินทราเน็ตและเครื่องมือค้นหาภายในบริษัท
   ตอบ ช่วยให้พนักงานในบริษัทใช้ระบบอินทราเน็ตเป็นเครื่องมือในการแข่งขันสำหรับโครงการทางวิศวกรรมใหม่ๆ

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 7.2

1.อะไรเป็นมูลค่าทางธุรกิจของการประมวลผลการวิเคราะห์ออนไลน์ของบริษัท Office Depot
   ตอบ การได้ลิขสิทธิ์สำหรับใช้ในการโฆษณาส่งเสริมการขาย
2.บริษัท Office Depot ได้ผลจากการลงทุนสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำ OLAP ไปใช้งานอย่างไร
   ตอบ ทำให้การขายสูงขึ้นถึง 4 เปอร์เซนต์ในช่วงครึ่งปีหลัง
3.บริษัท Office Depot ควรที่จะมีการเตรียมให้ผู้จัดส่งสินค้าผ่านเอ็กซ์ทราเน็ตเพื่อเข้าถึงข้อมูลทางการตลาดหรือไม่ เพราะอะไร
   ตอบ ควรเตรียมผู้จัดหาสินค้าที่มีการทำงานร่วมกับการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาดในระบบอินทราเน็ตที่ใช้ Wired ของการเชื่อมโยงใน OLAP บริษัทพร้อมที่จะแบ่งส่วนในการทำงานของการขายร่วมกับผู้จัดหาสินค้าหลักอีกสองแหล่งทั้งหมดที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการเปลี่ยนแปลงชุดการติดต่อธุรกิจภายใน

นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6

1.ทำไมแนวโน้มของระบบสารสนเทศจึงมีการนำไปสนับสนุนงานธุรกิจหลายด้าน
ตอบ1. ปรับปรุงในเรื่องการติดต่อสื่อสาร
      2. ลดต้นทุน
      3. เพิ่มผลผลิต
      4. ประหยัดเวลา
      5. ปรับปรุงด้านลูกค้าสัมพันธ์และความพึงพอใจของพนักงาน
2.ทำไมระบบการตลาดปัจจุบัน จึงเปลี่ยนมาเป็นการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต จงอธิบาย
ตอบ การตลาดทำหน้าที่สำคัญในการจัดการธุรกิจการค้า องค์ธุรกิจจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานด้านการตลาดที่สำคัญในอันที่จะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
3.จงยกตัวอย่างของบริษัทที่นำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยทางธุรกิจ
ตอบ บริษัท Gulf States Paper Corporation
4.ระบบการขายในสำนักงานอัตโนมัติ มีผลกระทบต่อพนักงานขาย พนักงานฝ่ายบริหารการตลาดและฝ่ายจัดทำเรื่องการแข่งขันอย่างไร
ตอบ การเพิ่มจำนวนขึ้นของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายทำให้เกิดปัจจัยพื้นฐานสำหรับแรงขับเคลื่อนการขายอัตโนมัติ ในหลายๆบริษัท ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เว็บบราวเซอร์และซอฟแวร์ด้านการจัดการติดต่อการขายเป็นเครื่องมือที่จะเชื่อมต่อกับเว็บไซท์การตลาดบนอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ตและอินทราเน็ตของบริษัท
5.ระบบอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กตราเน็ต สามารถนำมาช่าวยการทำงานร่วมกันในกระบวนการผลิตได้อย่างไร
ตอบ กระบวนการผลิตเหมือนกับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานวิศวกรรมและการออกแบบ การควบคุมการผลิต ตารางการผลิต และการบริหารด้านการจัดหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการความร่วมมือ การเพิ่มในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ตและเครือข่ายอื่นๆเพื่อเชื่อโยงกับสถานีงาน
6.ระบบอินเทอร์เน็ต และอินทราเน็ต ช่วยสนับสนุนงานด้านการจัดการเรื่องทรัพยากรณ์มนุษย์ได้อย่างไร ยกตัวอย่างมา 3 ตัวอย่าง
ตอบ  -อินเทอร์เน็ต เช่น ระบบออนไลน์ของ HRM ได้เกี่ยวข้องกับการจัดหาลูกจ้างผ่านเว็บไซท์ของแผนกจัดหาลูกจ้างของบริษัท ใช้บริการและฐานข้อมูลของบริษัทจัดหางานบนเว็บ การประกาศผ่านกลุ่มข่าวบนอินเทอร์เน็ตและสื่อสารกับผู้สมัครงานผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์- อินทราเน็ต เช่น การให้บริการตัวเองของลูกจ้างจะช่วยให้พนักงานได้เห็นรายงานด้านผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย ข้อมูลด้านการจ้างงานและเงินเดือน สามารถเข้าถึงและปรับปรุงสารสนเทศส่วนบุคคลให้เป็นปัจจุบัน
7.เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ด้านการบัญชี และการเงินอย่างไร อธิบาย
ตอบ  ระบบคอมพิวเตอร์ด้านการบัญชีจะทำการบันทึกและรายงานการไหลเวียนของเงินทุนภายในองค์กรในเรื่องที่สำคัญในอดีตและผลิตรายการด้านการเงิน ส่วนระบบสารสนเทศด้านการเงิน สนับสนุนผู้จัดการฝ่ายการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเงินของบริษัท เป็นต้น
8.ถ้านักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นผู้บริหาร หรือเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจเอง นักศึกษาคิดที่จะนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้หรือไม่เพราะเหตุใด จงให้เหตุผล
ตอบ ใช้ เพราะระบบสารสนเทศสามารถที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราไปอย่างได้ง่ายขึ้น สะดวกในการบริหารงานมากขึ้น ยิ่งในเรื่องของระบบสารสนเทศด้านบัญชีที่ช่วยในเรื่องของระบบบัญชีออนไลน์ที่ช่วยในเรื่องของกระบวนการสั่งซื้อ การควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นต้น


นางสาวอมรรัตน์ ระดมบุญ ชั้น บ.กจ.3/2

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 6

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 6.1

1.ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักร สามารถช่วยให้เกิดกำไรที่สูงขึ้น และปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ได้อย่าง
   ตอบ เช่น ความสามารถของเลเซอร์ และเทคโนโลยีการจำด้วยการมองเห็น
2.ประโยชนทางธุรกิจที่ Gulf States Paper ได้รับจากระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักรคืออะไร
   ตอบ โรงงานได้ผลิตท่อนซุงที่ตรงกับสภาวะความเปลี่ยนในตลาดโดยอยู่บนพื้นฐานสารสนเทศที่ได้รับจากระบบข้อมูลการตลาดที่ชาญฉลาด
3.ระบบสารสนเทศชนิดอื่นๆที่จำเป็นในการสนับสนุนการทำงานของระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักรที่ใช้ใน Gulf States Paper คืออะไร เช่น คุณคิดว่าข้อมูลเกี่ยวกับราคาในตลาดไม่แผ่นถูกนำมาป้อนให้แก่ระบบนี้ได้อย่างไร
    ตอบ มีหลายทางทีจะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับงานที่ต้องกระทำในธุรกิจ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างโอกาสในธุรกิจ และในฐานะที่เป็นผู้ใช้ เราต้องมีความเข้าใจพื้นฐานระบบสารสนเทศ สามารถสนองความต้องการการใช้งานด้านธุรกิจได้ เช่นด้านบัญชี การเงิน การตลาด การจัดการด้านปฏิบัติการ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 6.2

1.คุณคิดว่าทำไมการสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบออนไลน์ถึงจะดีกว่าการสั่งซื้อผ่านระบบไปรษณีย์ สำหรับ Book-of-The-Month-Club
   ตอบ เนื่องจากพวกเขามีทางเลือกมากกว่าแคตาล็อก ลูกค้าสามารถเลือกหนังสือได้มากกว่า
2.คุณเห็นด้วยกับนักการตลาดออนไลน์ไหมว่า ชื่อตราผลิตภัณฑ์อย่าง Book-of-The-Month-Club สามารถมีความได้เปรียบในการใช้พาชิณชย์อิเล็กกทรอนิกส์บนเว็บ ทำไมจึงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
   ตอบ เห็นด้วยเพราะ การวางใบสั่งซื้อออนไลน์โดยเฉลี่ยแล้วใกล้เคียงกับการจัดซื้อผ่านระบบไปรษณีย์
3.มีขั้นตอนอื่นๆ อีกไหมที่ Book-of-The-Month-Club ควรใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจบนเว็บ
   ตอบ มีการสร้างทางเลือกที่หลากหลาย

นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

1.มีธุรกิจอะไรบ้าง ที่นำเอาระบบอินทราเน็ตเข้าไปช่วยในการเพิ่มมูลค่าให้กับองค์การของตน
ตอบ ธุรกิจเครื่องสำอาง โภชนาการ และผลิตภัณฑ์ดูแลรักษา เป็นต้น
2.นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ ที่มีบางบริษัทนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ในการติดต่อกับพนักงาน และร้านค้าต่างๆ ด้วยการใช้โทรศัพท์
ตอบ เห็นด้วย เพราะ ข้อได้เปรียบของการพูดคุย คือ การบันทึกและเก็บถ้อยคำโต้ตอบของผู้เข้าร่วมสนทนาได้ทั้งหมด จึงเป็นอีกทางหนึ่งในการกระตุ้นการมีส่วนร่วมมือของลูกค้าและพนักงาน
3.มีอะไรบ้างที่เป็นข้อจำกัดในการนำเอาระบบอินทราเน็ตมาใช้ในธุรกิจปัจจุบัน
ตอบ 1.เทคโนโลยีใหม่ที่ค่อยเป็นค่อยไป  
        2.ขาดคุณสมบัติในเรื่องความปลอดภัย 
        3.ขาดการจัดการปฏิบัติงาน  
        4.การสนับสนุนจากผู้ใช้ต่ำสุด 
        5.สารสนเทศไม่ได้กรองอาจจะท่วมผู่ใช้
4.นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ที่ปัจจุบัน มีผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่มีประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์และมีความต้องการที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันหรือติดต่อกับบุคคลอื่น เพราะเหตุไร
ตอบ เห็นด้วย อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่ต้นทุนต่ำและใกล้จะเป็นการสื่อสารสากลช่วยในการส่งโทรสาร รับไปรณีย์เสียง และนำไปสู่การสนทนาสองทาง
5.จงยกตัวอย่างของบริษัทที่ใช้อินทราเน็ตให้บริการทางธุรกิจ
ตอบ ธุรกิจ Sun Microsystems และ ธูรกิจ 3M Frontier
6.จงยกตัวอย่างของบริษัทที่ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตให้การบริการทางธุรกิจ
ตอบ ธุรกิจ Countrywide Heme Loans และ ธุรกิจ Nu Skin International
7.นักศึกษาใช้การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หรือการพูดคุยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (chat) หรือการประชุมร่วมกันตัดสินหรือไม่ และให้หาเหตุผลที่จะนำเอาระบบเหล่านี้ มาช่วยในการติดต่อสื่อสาร และการทำงานร่วมกัน จงอธิบาย
ตอบ เคย ระบบเหล่านี้ช่วยในการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน คือ การถ่ายทอกสารสนเทศไปยังผู้รับและอนุญาติให้เสนอความคิดเห็นได้ ช่วยให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ร่วมงาน
8.จงยกตัวอย่างเครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
ตอบ 1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
        2.งานสิ่งพิมพ์บนเว็บ
        3.การส่งโทรสาร
        4.ไปรษณีย์เสียง

นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ ชั้น บ.กจ.3/2

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนที่ 7

ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจด้านการบริหาร
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจช่วยในการตัดสินใจปัญหาได้หลากหลายรูปแบบ สามารถช่วยในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น ผู้ผลิตต้องการหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่หรือโรงงานน้ำมันต้องการเลือกสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดในการขุดเจาะหาน้ำมัน ซึ่งจะเห็นว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทั่วไปไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แต่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถช่วยแนะนำทางเลือกในการปฏิบัติและช่วยในการตัดสินใจเพื่อหาคำตอบของปัญหาเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจยังเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจการบริหารรูปแบบต่างๆ ดังนั้นจึง จำเป็นต้องสามารถรองรับรูปแบบการตัดสินใจของผู้ใช้ที่หลากหลายด้วย
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
   ระบบที่นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่าระบบ สารสนเทศเพื่อการจัดการ ซึ่งข้อมูลส่วนที่นำเข้าส่วนมาก ได้แก่ข้อมูลจากระบบประมวลผลรายการ ซึ่งถูกนำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการขององค์กรเพื่อผลิตรายงานต่างๆ ออกมา ทำให้ผู้จัดการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
แนวคิดของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
    จุดประสงค์หลักของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการคือ ช่วยให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยช่วยให้ ผู้บริหารสามารถเห็นการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อที่จะควบคุม, จัดการและวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือกล่าวได้ว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ช่วยนำเสนอข้อมูลของผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยจัดการผลสะท้อนกลับที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานรายวันได้ ตัวอย่างเช่นระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต คือกลุ่มของระบบที่รวมกันเพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถตรวจสอบขบวนการผลิต เพื่อให้เกิดการใช้วัตถุดิบในการผลิตที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด โดยการตรวจสอบนี้ทำได้โดยดูจากรายงานสรุปที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ รายงานเหล่านี้สามารถได้มาจากการกรองและการวิเคราะห์รายละเอียดข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลการประมวลผลรายการและแสดงผลข้อมูลที่ได้ในรูปแบบที่มีความหมายหรือรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายต่อ ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจ รูปที่ 11 แสดงบทบาทของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ที่มีต่อการไหลของ สารสนเทศภายในองค์กร สังเกตว่ารายการทางธุรกิจสามารถเข้ามาในองค์กรผ่านวิธีการทั่วไป, ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือผ่านทางเอ็กซ์ทราเน็ตที่ติดต่อลูกค้าและแหล่งผลิตเข้ากับระบบประมวลผลรายการของบริษัทก็ได้
    ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการแต่ละระบบจะประกอบด้วยกลุ่มของระบบย่อย ซึ่งทำหน้าที่ในการดำเนินงานเฉพาะอย่างภายในองค์กร ดังนั้นระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงินจะมีระบบย่อยที่ทำการออกรายงานด้านการเงิน, ระบบย่อยที่ทำการวิเคราะห์ผลกำไรและขาดทุน, วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและระบบย่อยที่ทำการใช้และบริหารเงินทุน ระย่อยต่างๆ สามารถใช้ทรัพยากรด้านฮาร์ดแวร์, ข้อมูล และบุคคลร่วมกันได้
    ถึงแม้การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้กับผู้บริหารได้ แต่บทบาทสำคัญที่ทำให้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสามารถเพิ่มประสิทธิผลให้กับองค์กรได้ก็คือ ช่วยในการจัดการข้อมูลที่ ถูกต้องให้กับบุคคลที่ถูกต้อง ในรูปแบบและเวลาที่เหมาะสม
ส่วนที่นำเข้าไปในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
    ข้อมูลที่เข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอก แหล่งข้อมูลภายในที่สำคัญมาจากระบบการประมวลผลรายการ ซึ่งการทำงานหลักของระบบประมวลผลรายการได้แก่การจัดเก็บข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินรายการทางธุรกิจ ซึ่งเมื่อเกิดรายการทางธุรกิจใดๆ ขึ้นระบบประมวลผลรายการจะต้อง ปรับปรุงข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลด้วยเสมอ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมการออกบิลช่วยเก็บฐานข้อมูลของบัญชีรายรับ ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้บริหารทราบว่าลูกค้ารายใดบ้างที่เป็นหนี้บริษัท ฐานข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วเหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดข้อมูลภายในพื้นฐาน เพื่อใช้ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ชุดโปรแกรมทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลภายในจากส่วนงานเฉพาะด้านอื่นๆ ของบริษัทก็สามารถนำเข้าข้อมูลที่สำคัญมาสู่ระบบได้เช่นกัน แหล่งข้อมูล ภายนอกได้แก่ ลูกค้า, แหล่งผลิต, คู่แข่งและผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลรายการ และแหล่งข้อมูลอื่นๆ หลายๆ บริษัทพยายามที่จะนำเอ็กซ์ทราเน็ตเข้ามาใช้เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลภายนอกต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ
    ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการใช้ข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งกำเนิดเหล่านี้และประมวลผลให้กลายเป็น สารสนเทศที่ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบของรายงานนั่นเอง

ที่มา : http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis4.htm
นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ  ชั้น บ.กจ.3/2

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คำถามกรณีศึกษา บทที่ 5

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 5.1
1.อะไรคือความท้าทายของ US West ในการติดตั้งอินทราเน็ต Global Village และมาได้จากอะไร
   ตอบ ความก้าวหน้าและการเจริญเติบโตของอินทราเน็ต อินทราเน็ตสามารถทำให้เข้าใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี World Wide Web เพื่อสนับสนุนการติดต่อสื่อสารการร่วมมือและกระบวนการธุรกิจผ่านเครือข่าย
2.อินทราเน็ตเช่น Global Village ที่ได้รับผลตอบแทนการลงทุนมากกว่า 1,000 เปอร์เซ็นต์ทำได้อย่างไร
   ตอบ จากการประหยัดได้หลายล้านในทุกอย่าง จากต้นทุนการพิมพ์ไปจนถึงชั่วโมงการทำงานของพนักงาน เช่น โปรแกรมประยุกต์ ต้นทุน / ประมาณการประหยัด
3.อะไรคือผลประโยชน์ทางธุรกิจอื่นๆของอินทราเน็ตของ US West
   ตอบ  -การติดต่อสื่อสารและความร่วมมือระหว่างพนักงานที่ง่ายขึ้น
            -Global Village ช่วยให้พนักงานทำกระบวนการธุรกิจหลักให้สำเร็จได้รวดเร็วขึ้นและสะดวกสบายมากกว่าระบบเดิม
            -อินทราเน็ต US West เป็นต้นทุนที่มีประสิทธิผล
คำถามกรณีศึกษาบทที่ 5.2
1.อะไรคือวัตถุประสงค์ของ Nu Skin ในการใช้เอ็กซ์ทราเน็ต อะไรคือผลประโยชน์ที่ Nu Skin คาดหวัง
   ตอบ เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานทั้งการพิมพ์ ไปรษณีย์ และการสนับสนุนตัวแทนจำหน่าย ผลประโยชน์ที่คาดหวัง คือ ทำให้เกิดการผลักดันในเรื่องการแข่งขันและจูงใจตัวแทนจำหน่ายรายใหม่
2.ตัวแทนจำหน่ายของ Nu Skin ได้รับผลประโยชน์อะไรจากเอ็กซ์ทราเน็ต
   ตอบ ได้ทำงานเมื่อต้องการทำ ได้รับสารสนเทศที่ต้องการในเวลาที่ต้องการ
3.ทำไมเอ็กซ์ทราเน็ตจึงเป็นแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับเครือข่ายของตัวแทนจำหน่ายทางด้านการตลาดธุรกิจเช่น Nu Skin
    ตอบ คือ การลงทุนในบางสิ่งบางอย่างที่มองไม่เห็นการจ่ายคืนในทันที

นางสาวอมรรัตน์ ระดมบุญ ชั้น บ.กจ.3/2

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนที่ 6

ระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติงานทางธุรกิจ
ระบบ (System)
คือส่วนต่าง ๆ เข้ามารวมกันเพื่อทำหน้าที่ให้ส่วนรวมบรรลุเป้าหมาย
ระบบประกอบด้วย ระบบย่อย (Subsystem) เป็นส่วนหนึ่งของระบบ มี 2 แบบ
1. แบบปิด (closed system) ไม่เกี่ยวข้องกับระบบอื่นเลย
2. แบบเปิ ด (open system) มีช่องทางสัมพันธ์ติดต่อกับรายอื่น
ระบบสารสนเทศ และการบริหาร ที่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจ Information
1. ความคิดเชิงระบบ (systems thinking) มีระบบของการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง คิดให้รอบคอบทั่วถึง มองหา วิธีแก้ปัญหาหลาย ๆด้าน ต้นทุน และเลือกวิธีการที่ดี
2. การทำงานเปลี่ยนจากแบบมาคนเดียว เป็นแบบทำงานเป็นทีม หรือกลุ่มงาน โดยอาศัยความเห็นแลกเปลี่ยน แนวความคิดได้ต้องผสม กันระหว่างคนและเครื่อง ทำให้ทำงานได้มากขึ้น เครื่อง Computer เก็บข้อมูลได้มากกว่าคน
3. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารองค์กรข้อมูล (Data) People บุคลากร HW. เครื่อง Procedures กฎเกณฑ์ในการทำงาน คู่มือปฏิบัติงาน SW. โปรแกรม Networke เครือข่ายสื่อสาร
4. การประมวลผลข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 ส่วน (ด้วยเครื่อง Computer) เก็บรวบรวมข้อมูล (Input) คำนวณและประมวลผล (Data processing) แสดงผล (Output) storage (จัดเก็บข้อมูลที่ได้ประมวลผล)
คุณลักษณะของระบบสารสนเทศต่าง ๆ แบ่งตามลักษณะระบบการจัดเก็บข้อมูล Iss From Recording Transactions to Providing Expertise
1. Transaction Processing Systems (TPS) ระบบธุรกรรม บันทึกรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น เป็น DATA ยังไม่เป็น IS ระบบถอนเงินสด ATM.
2. Management Report Systems (MRS)ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ รับข้อมูลมาจากระบบ TPS มาทำการประมวลผล ระบบ MRS ประมวลผลโดยการสรุปข้อมูลที่ได้รับเข้ามาเป็นจำนวนมาก เป็นรายงานแยกตามหมวดหมู่ที่เหมาะสม เพื่อการนำเสนอผู้บริหารด้วยรายงาน รายงานประจำเดือน ประจำปี ข้อมูลสรุปหรือการปรับเปลี่ยน
3. Decision support System (DSS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สนับสนุนการทำงาน ของผู้บริหารในระดับกลาง ช่วยในการ
ตัดสินใจแก้ปัญหาแบบทั้งมีโครงสร้าง คือปัญหาที่มีความไม่แน่นอนเข้ามาเกี่ยวข้อง มีลักษณะเฉพาะตัวและมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ทำให้ไม่สามารถกำหนดวิธีแก้ไขล่วงหน้าได้ ระบบนี้จะต้องมีการตอบสนองที่ดี
4. Executive Information Systems (EIS) การเก็บข้อมูลรวบรวมมาสรุปโดยรวมเร็วทันใด ใช้ในการควบคุมแผน
5. Expert System (ES) ระบบที่ทำงานแบบเชี่ยวชาญ สามารถตอบและให้คำแนะนำออกมาด้วยสรุป
6. Geographic Information Systems (GIS) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พื้นดิน ผิวโลก ภูเขา
7. On - demand Output ระบบที่สามารถให้ผลลัพธ์ตอบสนองผู้ใช้ที่ต้องการผลลัพธ์ได้เอง
ระบบสารสนเทศ แบ่งตามระบบธุรกิจ
Accounting สารสนเทศสำหรับฝ่ายการบัญชี (Accounting) รับผิดชอบในการรักษาและจัดการรายการ หลักฐานเกี่ยวกับการเงิน ขององค์กร รายรับรายจ่ายขององค์กร ปัญหาในการบริหารจัดการและการติดตามรายการธุรกรรมเกี่ยวกับการหมุนเวียนทรัพย์สิน และเงินขององค์กร
Finance สารสนเทศสำหรับฝ่ายการเงิน (Finance) มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงินขององค์กร เงินสด หุ้น พันธบัตร เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุดจากทรัพย์สิน รับผิดชอบในเรื่องของการลงทุน
Marketing สารสนเทศด้านการตลาด (marketing) วิเคราะห์สินค้าที่กลุ่มลูกค้าต้องการ แนะนำลูกค้าให้รู้จักสินค้า กำหนดกลุ่มลูกค้า
Human Resources สารสนเทศสำหรับฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) สนับสนุนในการเลือกสรรบุคลากร จัดการรักษาระเบียบข้อมูลบุคลากรให้มีความสมบูรณ์ และสร้างสรรกิจกรรมที่กระตุ้น ให้บุคลากรเกิดความคิดสร้างสรรและทักษะในการปฏิบัติงาน
ระบบสารสนเทศแตกต่างกันในส่วนของธุรกิจต่าง ๆ Iss in Different Business Sectors
Manufacturing : กระบวนการผลิตสินค้า สร้างวางแผนความต้องการวัสดุ โดยกำหนดเวลาที่รวดเร็ว บริหารคลังสินค้า การซื้อการนำส่ง วางแผนการผลิต การบำรุงรักษา โรงงานและอุปกรณ์
Government : ระบบภาษี ระบบประกันสังคม
Service : ระบบสารสนเทศในการให้บริการเชื่อมโยงกับองค์กรต่าง ๆ
Retail : ร้านขายปลีก ปัจจุบันสามารถใช้เครือข่ายดาวเทียม การบริหารสามารถกำหนดรายการสั่งซื้อได้รวดเร็
New Businesses : ระบบธุรกิจใหม่ สามารถให้บริการโดยใช้ Credit Report
Shared Data Resources : นำข้อมูลมาแบ่งกันใช้ ถ้าเก็บข้อมูลไว้เองอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้ข้อมูลไม่ตรงกัน
E - Commerce : การใช้ Internet ในการขายสินค้า ซื้อขาย - ผ่อน
1. Business - to - Business b to b หรืออีกแบบ Business - to - Consumer b to c
2. อาศัยฐานข้อมูลในการเก็บเพื่อการเชื่อมโยง
3. e - commerce ยังมีปัญหาเรื่องของการจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต
ระบบสารสนเทศ (ผลการศึกษา)
Knowledge workers : การทำงานชุดใหม่ต้องใช้ความรู้มากกว่าชุดเก่า
Degrees in Is : วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และการบริหารจัดการสารสนเทศ
Information systems careers : อาชีพ ดำเนินอาชีพ : นักวิเคราะห์ระบบ นักวางแผน DBA ผู้ดูแลเครือข่ายระบบสารสนเทศที่ไม่ควรให้การเผยแพร่
1. Consumer Privacy : ข้อมูลส่วนตัว ไม่อยากให้ใครรู้ เรื่องราวของลูกค้า พนักงาน ถ้าเป็นข้อมูลผิด ๆ ถ้าคนอื่นเอาไปก็มีปัญหา
2. Employee Privacy : ข้อมูลลูกค้า (ส่วนตัว)
3. Freedom of Speech : ระวังในบางเรื่อง
4. IT Professionalism : วิชาชีพ IT ต้องมีจริยธรรม
5. Social Inequality : มีคนจำนวนน้อยที่เข้าถึง Internet ควรจะมีคนมาก ๆ เพื่อรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี
ทั้งหมดที่กล่าวอ้างขึ้นมานีเป็นหลักหัวใจในการบริหาร พัฒนาองค์กร ทางด้าน IT และ Business ให้เดินทางควบคู่ไปด้วยกัน หากแต่ว่าองค์กรใด หรือผู้สนใจจะนำความรู้เหล่านี้ไปใช้นั้น ต้องรุ้ถึงจุดประสงค์และที่มาของธุรกิจของ หน่ยงานและ องค์กรณ์ของตัวเองให้ครบถ้วนก่อน
นางสาวอมรรัตน์  ระดมบุญ ชั้น บ.กจ.3/2